บทวิเคราะห์:ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างไทย-จีนมีช่องว่างให้พัฒนาอีกมาก
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยเฉพาะหลายปีที่ผ่านมานี้ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมไทย-จีนให้กว้างขวางและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ในเดือนสิงหาคมปีนี้ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ได้จัดงานวัฒนธรรมเพื่อให้คนไทยมีโอกาสสัมผัสวัฒนธรรมจีนแบบดั้งเดิม เช่น ภาพวาดหมึกและเครื่องดนตรีจีน การแลกเปลี่ยนทางสังคม วัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศมีความคึกคักมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ภาษาจีนก็ได้กลายเป็นภาษาต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับสองรองจากภาษาอังกฤษในประเทศไทย
ปัจจุบันนี้ แม้ว่าความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างไทยและจีนมีหลายรูปแบบ เข่น การเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนชาวจีนและชาวไทยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และการส่งครูอาสาสมัครมาสอนในโรงเรียนไทย ฯลฯ แต่สำหรับความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างไทย-จีน ยังมีช่องว่างให้พัฒนาอีกมาก
การเรียนการสอนภาษาจีนมีความสำคัญในการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ ด้วยเหตุที่ภาษาสามารถเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน และสร้างโอกาสใหม่ให้กับประชาชนทั้งสองประเทศ นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ภาควิชาภาษาจีนของคณะศิลปศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยรังสิตมีนักศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปี และมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของจีนเรื่อยๆ เช่น มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง มหาวิทยาลัยนานาชาติศึกษาเซี่ยงไฮ้ มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศกวางตุ้ง เป็นต้น ภาควิชาภาษาจีนของมหาวิทยาลัยรังสิตมีแผนที่จะเปิดหลักสูตรปริญญาโทภาษาจีนในปีหน้าโดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งสองประเทศจะแบ่งปันทรัพยากรทางการศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมใหม่ๆ ในอนาคต
ดร.ณัฐฌาภรณ์ เดชราช
ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต