จีนเปิดเผยภาพถ่ายพิมพ์เขียวจากการพัฒนาการสำรวจห้วงอวกาศ
องค์การอวกาศแห่งชาติจีนและสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีนร่วมกันประกาศซีรีย์รูปถ่ายดาวอังคาร(ภาพสี)
ซึ่งได้มาจากภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกในงานพิธีเปิดวันอวกาศของจีนในเมืองเหอเฟย มณฑลอันฮุย
ทางตะวันออกของประเทศ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 (ซินหัว/หวง ปัวหาน)
จีนได้ร่างพิมพ์เขียวสำหรับการพัฒนาการสำรวจอวกาศในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจดวงจันทร์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวเคราะห์อื่น ๆ ในระบบสุริยะของโลกเรา
จีนจะเปิดตัวดาวเทียมถ่ายทอด Queqiao 2 หรือ Magpie Bridge 2 และยานสำรวจฉางเอ๋อ 6 ในราวปี พ.ศ. 2567 เพื่อเก็บตัวอย่างจากดวงจันทร์ในด้านที่ไกลจากโลก และนำกลับมายังโลก
อู๋ เยี่ยนหัว หัวหน้านักออกแบบของโครงการใหญ่ เกี่ยวกับการสำรวจห้วงอวกาศกล่าวเมื่อวันอังคาร ระหว่างการประชุมการสำรวจห้วงอวกาศนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเหอเฟย เมืองหลวงของมณฑลอันฮุย ทางตะวันออกของจีน
“จีนวางแผนที่จะส่งยานสำรวจฉางเอ๋อ 7 ประมาณปี 2569 เพื่อดำเนินการสำรวจทรัพยากรของขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ และปล่อยยานฉางเอ๋อ 8 ในปี 2571 เพื่อสร้างแบบจำลองพื้นฐานของสถานีวิจัยดวงจันทร์ในระดับนานาชาติ”
จีนมีแผนดำเนินการภารกิจเทียนเหวิน 2 ประมาณปี 2568 เพื่อเก็บชิ้นส่วนตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกและสำรวจดาวหาง
เขายังกล่าวเพิ่มเติมว่า “จีนมีแผนจะดำเนินการภารกิจเทียนเหวิน 3 เพื่อเก็บสะสมชิ้นส่วนจากดาวอังคาร และเริ่มปฏิบัติการภารกิจเทียนเหวิน 4 ประมาณปี 2573 เพื่อสำรวจระบบดาวเคราะห์ชั้นนอกและดาวมฤตยู (ยูเรนัส)”
ใน 20 ปื ที่ผ่านมา จีนประสบความสำเร็จในการดำเนินการโครงการสำรวจดวงจันทร์ทั้งสามสเต็ปและตระหนักว่าการส่งยานอวกาศเพื่อการสำรวจ การลงจอดและการเดินทางบนดวงจันทร์นับเป็นภารกิจอย่างหนึ่ง
จีนได้รับภาพถ่ายดวงจันทร์ทุกด้านที่มีความละเอียด 7 เมตร และภาพถ่ายทุกด้านของดาวอังคารด้วยความละเอียดเชิงพื้นที่ 76 เมตร
อู๋กล่าวว่า “การค้นพบทางวิทยาศาสตร์จากภารกิจสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคารได้เสริมสร้างความรู้ของผู้คนที่มีต่อดวงจันทร์และดาวอังคาร ตั้งแต่จีนได้เริ่มโครงการสำรวจดวงจันทร์ตั้งแต่ปี 2547 ได้ร่วมมือกับนานาชาติ 19 ประเทศในการดำเนินการด้านอวกาศในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบ่งปันข้อมูลการสำรวจ สนับสนุนซึ่งกันและกันในเรื่องการตรวจวัดและการควบคุม ดำเนินการเรื่องน้ำหนักบรรทุกทางวิทยาศาสตร์ ร่วมดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์”