กาแฟ: “นามบัตร”เซี่ยงไฮ้โอบกอดโลก

(People's Daily Online)วันจันทร์ 22 พฤษภาคม 2023

กาแฟและเรื่องราวในเซี่ยงไฮ้

ที่นครเซี่ยงไฮ้ วัฒนธรรมกาแฟเป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่งในเมืองนี้    170 ปีก่อน-ปี พ.ศ. 2396 เภสัชกรชาวอังกฤษ J. lewellyn นำกาแฟมาที่เซี่ยงไฮ้และขายในร้านขายยา ในเวลานั้น ชาวเซี่ยงไฮ้เรียกของเหลวสีน้ำตาลรสชาติขมเปรี้ยวว่า “ยาแก้ไอ”

ในปี พ.ศ. 2409 ร้านกาแฟแห่งแรกในเซี่ยงไฮ้ “Hongkou Cafe” เปิดตัว โดยส่วนใหญ่ขายกาแฟให้นักเดินเรือ ไม่เพียงเสิร์ฟกาแฟเท่านั้น แต่ยังขายเบียร์ทุกชนิดด้วย

ปี พ.ศ. 2501 เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมกาแฟเซี่ยงไฮ้เป็นสัญลักษณ์ของเมือง ในปีนั้น ผลิตภัณฑ์แบรนด์ดังหรือกาแฟแบรนด์เซี่ยงไฮ้ได้ถือกำเนิดขึ้น

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 สตาร์บัคส์เปิดสาขาแรกในเซี่ยงไฮ้ และ 22 ปีต่อมา เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองแรกในโลกที่มีร้านสตาร์บัคส์เกิน 1,000 สาขา

ในวันปีใหม่ พ.ศ. 2561 Luckin Coffee เริ่มทดลองดำเนินการในเซี่ยงไฮ้   4 ปีต่อมา จำนวนร้านในเซี่ยงไฮ้เกิน 600 แห่ง

จากข้อมูลของ “ภาพรวมเซี่ยงไฮ้ปี 2566” ณ เดือนเมษายน 2566 เซี่ยงไฮ้มีร้านกาแฟมากกว่า 8,000 แห่ง ถือเป็นอันดับหนึ่งของโลก แซงหน้านิวยอร์ก ลอนดอน โตเกียว ฯลฯ   ในเซี่ยงไฮ้มีร้านกาแฟเฉลี่ย 1.3 แห่งต่อตารางกิโลเมตร และจำนวนร้านกาแฟถือเป็น 3.16 ร้านต่อจำนวนประชากร 10,000 คน

ร้านกาแฟไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับการบริโภค แต่ยังสื่อถึงบรรยากาศของคนในเมืองเซี่ยงไฮ้ และได้กลายเป็น “ห้องนั่งเล่นที่สอง” สำหรับผู้คนในการพบปะสังสรรค์และทำธุรกิจ


ภาพจาก CFP

กาแฟนำมาซึ่งการบริโภคแบบใหม่

เมื่อมองผ่านกาแฟ จะเห็นความคิดริเริ่มที่สร้างสรรค์ในนครเซี่ยงไฮ้ ร้านกาแฟจำนวนมากในเซี่ยงไฮ้ 55.88% เป็นร้านกาแฟบูติกหรือร้านกาแฟอิสระ

ร้านกาแฟในเซี่ยงไฮ้มีหลากหลายรูปแบบและครอบคลุมผู้บริโภคทุกคน เช่น ร้านกาแฟขนาดเล็ก ๆ ในพื้นที่สาธารณะของชุมชน ร้านกาแฟ “อุ้งตีนหมี” ที่ให้ความสำคัญต่อพนักงานคนพิการ และร้านกาแฟที่จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษสำหรับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางร่างกาย 

“ดื่มกาแฟที่เซี่ยงไฮ้ จะไม่มีคำว่ารสชาติเดียวกัน ชงกาแฟในเซี่ยงไฮ้ ชงออกมาได้อย่างมีเอกลักษณ์ทางธุรกิจเฉพาะตัว นี่คือจิตวิญญาณของความสร้างสรรค์ของกาแฟในเซี่ยงไฮ้” จู ต้าเจี้ยน ศาสตราจารย์และหัวหน้างานระดับปริญญาเอกของคณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยถงจี้กล่าว

ถึงปี พ.ศ. 2578 เซี่ยงไฮ้จะมีการสร้างนครแห่งนวัตกรรมที่ดึงดูดผู้คน และจะเห็นวัฒนธรรมกาแฟกันมากขึ้น “กาแฟ+ผู้ประกอบการ” และ “กาแฟ+สวนดอกไม้” ทุกการบวกเพิ่มคือการเพิ่มเติมปัจจัยที่มีเอกลักษณ์ของเซี่ยงไฮ้

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ วัฒนธรรมกาแฟในเซี่ยงไฮ้ ยังสำรวจการบริโภคใหม่เพื่อเส้นทางการพัฒนาสู่การขยายความต้องการในประเทศ และส่งเสริมการยกระดับอุตสาหกรรม เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่นิยมบริโภคกาแฟของยูนนานมากที่สุด ช่วยกระตุ้นการผลิตกาแฟระดับพรีเมียมในยูนนาน


ภาพจาก CFP

กาแฟเชื่อมนครเซี่ยงไฮ้กับโลก

ในปี พ.ศ. 2559  เทศกาลวัฒนธรรมกาแฟเขตการเงินและการค้าลู่เจียจุ่ย (Lujiazui Financial City Coffee Culture Festival) ครั้งแรก นับเป็นการนำแนวคิดของเทศกาลกาแฟกลางแจ้งมาสู่เซี่ยงไฮ้เป็นครั้งแรก ในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 2566 เทศกาลวัฒนธรรมกาแฟได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 กลายเป็นเทศกาลกาแฟที่ใหญ่ที่สุดและจัดบ่อยที่สุดในประเทศ จำนวนแบรนด์ที่เข้าร่วมเพิ่มขึ้นจาก 24 แบรนด์ในครั้งแรกเป็น 213 แบรนด์ ดึงดูดผู้ที่ชื่นชอบกาแฟจากทั่วประเทศให้มาเช็คอิน

“ตั้งแต่เทศกาลกาแฟเซี่ยงไฮ้ไปจนถึงหน้าต่างที่เชื่อมโยงกาแฟจีนกับโลก” ผู้รับผิดชอบการจัดงานเทศกาลกาแฟข้างต้นเชื่อว่า การที่เทศกาลกาแฟนี้เกิดขึ้นที่ลู่เจียจุ่ย เป็นหน้าต่างของจีนสู่โลกภายนอก และยังสืบทอดจิตวิญญาณแห่งนวัตกรรมที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์ของเขตผู่ตงและเซี่ยงไฮ้

ปัจจุบันมีประเภทกาแฟและแบรนด์ที่หลากหลายมากขึ้นที่กำลังจะนำเข้าเซี่ยงไฮ้ผ่านงานแสดงสินค้านำเข้านานาชาติของจีน (CIIE) และแพลตฟอร์มการซื้อขาย “6+365” ที่แสดงตลอดทั้งปี รวมทั้ง กระจายผ่านสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียงสู่ตลาดทั่วประเทศซึ่งมีมูลค่าแสนล้านหยวน ทำให้เซี่ยงไฮ้ถือเป็น “เมืองหลวงแห่งกาแฟของโลก” อย่างแท้จริง

ผลิตภัณฑ์กาแฟจากทั่วโลกทยอยก้าวเท้าเข้านครเซี่ยงไฮ้ มาเปิดร้านกาแฟแห่งแรกที่นี่ ส่วนแบรนด์กาแฟท้องถิ่นของเซี่ยงไฮ้ถือกำเนิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในเมือง โดยมีกาแฟเป็นสื่อนำดั่ง “นามบัตร” ที่เปล่งประกายของเซี่ยงไฮ้เปิดกว้างสู่ตลาดโลก