ไห่หนานมุ่งมีบทบาทเต็มที่ใน RCEP

(People's Daily Online)วันพฤหัสบดี 25 พฤษภาคม 2023

“ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ความตกลงการค้าเสรีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จะส่งเสริมการรวมตัวทางการค้าภายในภูมิภาคผ่านการลดภาษีศุลกากร และจะเร่งการฟื้นตัวและการเติบโตในระยะยาวและความเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น ลัทธิกีดกันทางการค้าและลัทธิฝ่ายเดียว และการหยุดชะงัดของห่วงโซ่อุปทานและอุตสาหกรรม สนธิสัญญาทางการค้า ระบบความร่วมมือแบบเปิดที่ครอบคลุม จะเป็นหนทางที่แข็งแกร่งทำให้ทุกฝ่าต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน” เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญกล่าวเมื่อวันอาทิตย์

พิธีเปิดฟอรัมนักคิดและสื่อ RCEP ประจำปี ครั้งที่ 3 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2566 ที่เมืองไหโข่ว มณฑลไห่หนาน หัวข้อหลักของปีนี้คือ “ร่วมกันสร้างเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก” จัดขึ้นโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลไห่หนาน หนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่และสถาบันการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติจีน

สนธิสัญญาทางการค้าที่ลงนามโดย 15 ประเทศเอเชีย-แปซิฟิกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 จะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 2 มิถุนายนนี้ ประกอบด้วย จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ รวมทั้ง 10 ประเทศอาเซียน


ภาพจาก CFP

นายหวัง ปิน หนึ่งในกรรมการประจำคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนมณฑลไห่หนานและหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการพรรคฯ มณฑลไห่หนานกล่าวว่า ท่าเรือเขตการค้าเสรีไห่หนานจะใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วม RCEP ดำเนินตามกฎกติกาการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมของหน่วยงานให้มีความสามารถในการแข่งขันระดับโลกและเปิดกว้างในระดับที่สูงขึ้น  

นอกจากนี้ ไห่หนานจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับประชาคมอาเซียนในการส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือทางการค้าทวิภาคี การลงทุนระหว่างกัน และการผลักดันให้มีการยกระดับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนรอบใหม่ โดยมณฑลไห่หนานจะใช้ประโยชน์จากความตกลง RCEP และทรัพยากรทางทะเลอันมหาศาลของไห่หนานเพื่อเพิ่มความร่วมมือกับประเทศสมาชิก RCEP ในการอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเล ตลอดจนนวัตกรรม เทคโนโลยีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางทะเลอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ จะใช้ความพยายามในการสร้างให้ไห่หนานเป็นจุดสำคัญทางเศรษฐกิจ ระหว่างจีนกับประเทศสมาชิก RCEP เพื่อใช้ประโยชน์จากนโยบายและผลักดันการพัฒนาแบบบูรณาการในระดับภูมิภาค

ชวี อิงผู่ หัวหน้าบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่กล่าวว่าการพัฒนาและสันติภาพ ซึ่งเป็นแนวคิดของยุคนี้ กำลังถูกท้าทายอย่างหนักเนื่องจากความตึงเครียดในปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การกีดกันที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ความสามัคคีและความมั่นคงเป็นคำตอบที่จะช่วยขจัดความไม่แน่นอนและไม่มีเสถียรภาพ ยืนหยัดต่อต้านการกลั่นแกล้งและเกมศูนย์ที่มีผู้ชนะเพียงผู้เดียว ความร่วมมือ RCEP ซึ่งเป็นแสวงหาความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันจะช่วยอำนวยความสะดวกในการฟื้นตัวและการเติบโตอย่างมั่นคงของเศรษฐกิจภูมิภาค และกระตุ้นใก้เกิดแรงผลักดันใหม่ๆในการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองระดับโลก

นอกจากนี้ เขายังตั้งข้อสังเกตว่า RCEP ไม่เพียงแต่เป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุด มีพลวัตมากที่สุดและมีศักยภาพในการเติบโตมากที่สุดในโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรวมคนหนุ่มสาวจำนวนมากที่สุด ซึ่งเป็นหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาภูมิภาค ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีเวทีที่กว้างขึ้นสำหรับคนรุ่นใหม่เพื่อแสดงความสามารถ และดึงให้พวกเขาเข้าร่วมการดำเนินการ RCEP ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ

ฉือ ฟู่หลิน ประธานสถาบันการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติจีนกล่าวว่า RCEP ให้ความสำคัญกับการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งจะเสริมสร้างการพัฒนาระดับภูมิภาคที่ครบคลุมทุกด้านและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

สนธิสัญญาการค้าได้ก่อให้เกิดหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกต่อการขยายการค้าและการลงทุนในภูมิภาค ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจจะเป็นตัวพิสูจน์ให้เห็นว่าความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่อิงตามตลาดและกฎเกณฑ์นั้นมีพลวัตและมีชีวิตชีวามาก และจะส่งผลต่อการเติบโตในระยะยาวที่ยั่งยืนให้กับภูมิภาคนี้ การเปิดกว้างต่อมาตรฐานระดับสูงเป็นวัตถุประสงค์สำคัญอย่างหนึ่งของ RCEP และควรมีการดำเนินการตามข้อตกลงที่ลงนามไว้โดยเร็ว

นอกจากนี้ เขายังได้เพิ่มเติมด้วยว่า ความสอดคล้องและการบูรณาการของ RCEP กับข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิกจะก้าวหน้าตามความเหมาะสม และจะพยายามวางรากฐานสำหรับการเร่งตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก ซึ่งประเทศในอาเซียนกับจีนเป็นพลังและจุดศูนย์กลางของภูมิภาค RCEP และการยกระดับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนรอบใหม่นับเป็นกุญแจสำคัญในการส่งเสริมการเปิดกว้างที่มีระดับสูงของ RCEP

ตันศรีออง ที เกียต ประธานศูนย์ New Inclusive Asia และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของมาเลเซียกล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรวม 15 เขตเศรษฐกิจ RCEP ซึ่งแผ่ขยายไปทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และมีขนาดและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่นเดียวกับ คุณภาพและระดับการพัฒนา สร้างตลาดเดี่ยวขนาดใหญ่ที่มีประชากร 2.2 พันล้านคน RCEP เป็นตัวเปลี่ยนเกมและได้เปลี่ยนภูมิทัศน์เศรษฐกิจทั่วโลกโดยการกำหนดให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วงใหม่สำหรับการค้าโลก นำมาซึ่งโอกาสการลงทุนมากมายและการเข้าถึงตลาดที่มากขึ้นแก่ชุมชนธุรกิจในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ของภูมิภาคนี้