เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยพัฒนางานอนุรักษ์วัฒนธรรมทิเบต

(People's Daily Online)วันศุกร์ 26 พฤษภาคม 2023


ผู้ร่วมนิทรรศการภายนอกสถานที่ประชุมฟอรั่มการพัฒนาทิเบต ในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีนเมื่อวันที่ 23
พ.ค. 2566 (ซินหัว/หลี่ ซิน)

ห้องสมุดประจำภูมิภาคของเขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนได้แปลงข้อความโบราณมากกว่า 20,000 แผ่นให้เป็นระบบดิจิทัลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นับตั้งแต่การเผยแพร่เอกสารโบราณรอบล่าสุดเปิดตัวในปี พ.ศ. 2565

จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2564 คาดว่าจีนได้เก็บรักษาเอกสารโบราณหลายแสนฉบับที่เขียนด้วยภาษาทิเบต ปัจจุบัน เอกสารกว่าครึ่งเหล่านี้ได้รับการเก็บรักษาไว้ในสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงพระราชวังโปตาลาอันยิ่งใหญ่ของทิเบต อารามเดรปุง(Drepung) นอร์บูลิงการ์(Norbulingka) และสถานที่คุ้มครองอักษรโบราณที่สำคัญอื่น ๆ ตลอดจนวัดกว่า 1,300 แห่งในพื้นที่ระดับมณฑล

จีนได้จัดงานประชุมฟอรั่มการพัฒนาทิเบตในกรุงปักกิ่งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา  ในการประชุมย่อยของฟอรั่มครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการหลายคนมุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์ การสืบทอดและพัฒนาวัฒนธรรมทิเบต มีการหารือเกี่ยวกับโครงการปกป้องวัฒนธรรมที่สำคัญในภูมิภาค รวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับตำราโบราณ พุทธศาสนาในทิเบต และการแพทย์ทิเบต

ระหว่างการประชุมย่อยด้านงานปกป้องวัฒนธรรมในภูมิภาค ซู ฟ่าเสียง คณบดีคณะการศึกษาทิเบตแห่งมหาวิทยาลัย Minzu กล่าวถึงความสำคัญอย่างยิ่งของข้อความโบราณที่เก็บรักษาไว้ในห้องสมุดภูมิภาคของทิเบต และความคืบหน้าล่าสุดของภูมิภาคในการแปลงเอกสารเป็นดิจิทัล   “ในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนังสือโบราณเป็นสิ่งที่ทวีคุณค่ามากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การรักษาข้อความเก่าบนหนังสือคือการคงไว้ซึ่งรากฐานทางวัฒนธรรม” ซูกล่าว

ตอนนี้ เพียงคลิกไม่กี่ครั้งบนเว็บไซต์ของหอสมุดภูมิภาค เราก็สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลเอกสารภาษาทิเบตได้อย่างง่ายดาย ฐานข้อมูลครอบคลุมตำราต่าง ๆ รวมถึงชีวประวัติของนักปราชญ์ชาวทิเบตโบราณ และพระสงฆ์ในนิกายต่าง ๆ ของพุทธศาสนาในทิเบต เอกสารประวัติศาสตร์ทิเบต และเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์การแลกเปลี่ยนระหว่างทิเบตกับภูมิภาคอื่น ๆ ของจีน ข้อความส่วนใหญ่ของเนื้อหาอันทรงคุณค่าที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ถึงศตวรรษที่ 20

เพ็ญพา เสริง รองผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์หนังสือโบราณประจำภูมิภาคกล่าวว่า ข้อความโบราณจะไม่ถูกกักอยู่ในชั้นหนังสือต่อไป ซึ่งแต่เดิมต้องใช้ขั้นตอนที่ซับซ้อนในการยืมและนำหนังสือมาอ่าน แต่ตอนนี้ สามารถแบ่งปันให้คนทั่วโลกเข้าถึงหนังสือได้   “การปกป้องและการใช้ประโยชน์ของหนังสือโบราณในทิเบต ไม่เพียงแต่ช่วยให้สามารถใช้ทรัพยากรที่อนุรักษ์ไว้ได้ดีขึ้น แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น เป็นการตระหนักถึงความคิดและความตั้งใจแรกของผู้เขียนข้อความโบราณ การถ่ายทอดเอกสารอันทรงคุณค่าให้ทั่วโลกและรับใช้การศึกษาและสังคม” เพ็ญพา เสริงกล่าว

ความพยายามในการอนุรักษ์ด้วยดิจิทัลของทิเบตทำให้สามารถเข้าถึงคอลเลคชั่นโบราณทางออนไลน์ได้ ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายปีในการจัดทำ การสำรวจข้อความอันล้ำค่าซึ่งอาศัยกำลังคนจำนวนมากเป็นสิ่งจำเป็นต่อการแปลงเป็นดิจิทัล

ในปี พ.ศ. 2552 ทิเบตเปิดตัวโครงการสำรวจเอกสารโบราณขนาดใหญ่ที่สุด เจ้าหน้าที่สำรวจสำมะโนประชากรได้ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของภูมิภาคกว่า 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร โดยใช้เวลากว่าทศวรรษ

Dekyi Drolkar หัวหน้าฝ่ายวัฒนธรรมทิเบตกล่าวระหว่างการประชุมย่อยที่ฟอรั่มการพัฒนาทิเบตว่า จนถึงปัจจุบัน การสำรวจและขึ้นทะเบียนหนังสือโบราณในภูมิภาคนี้ได้เสร็จสิ้นแล้ว รวบรวมคอลเลคชั่นของงานและบุคคลระดับจังหวัดมากกว่า 1,160 หน่วย โดยมีข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมด 13,700 ชิ้น    “ทิเบตได้เริ่มก่อตั้งระบบการสำรวจและการเก็บรักษาหนังสือโบราณ โดยมีศูนย์อนุรักษ์หนังสือโบราณประจำภูมิภาคเป็นหน่วยงานหลัก นอกจากนี้ยังมีส่วนอื่น ๆ ที่เข้าร่วม ได้แก่ หน่วยงานด้านวัฒนธรรมในเมืองและระดับจังหวัด หน่วยรวบรวมคอลเลคชั่นและบุคคลที่เกี่ยวข้อง” หัวหน้าฝ่ายวัฒนธรรมทิเบตกล่าว

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 หอสมุดภูมิภาคซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานปกป้องโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญของภูมิภาค ได้ขยายโครงการแปลงข้อความโบราณเป็นดิจิทัลหลายครั้ง รวมเงินลงทุนประมาณ 2.38 ล้านหยวน (ประมาณ 11.9 ล้านบาท) และวางแผนที่จะดำเนินการแปลงไฟล์ดิจิทัลมากกว่า 67,000 แผ่น จากตำราโบราณกว่า 610 รายการให้เสร็จสมบูรณ์