บทสัมภาษณ์: การลงทุนของชาวจีนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจประเทศไทย

(People's Daily Online)วันศุกร์ 02 มิถุนายน 2023

ดร. จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกล่าวว่า การลงทุนที่เพิ่มขึ้นของชาวจีนในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) นำมาซึ่งห่วงโซ่อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจไทยและการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ดร. จุฬากล่าวให้สัมภาษณ์กับซินหัวว่า “เนื่องจากไทยเป็นประเทศหลักในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และฐานการส่งออกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ดึงดูดบริษัทผู้ผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าของจีน โดยมีจำนวนที่เติบโตมากขึ้นในหลายปีมานี้ สะท้อนให้เห็นจากการออกนโยบายเพิ่มแรงจูงใจของรัฐบาลไทย” และกล่าวเสริมว่า “บริษัทจีนจำนวนมากได้ลงทุนในไทย บางบริษัทมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศไทยและส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยคาดว่าประเทศไทยจะส่งออกรถ EV เพิ่มมากขึ้นในอนาคต”

ตามข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แบรนด์จีนมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 90 ของตลาด EV ในประเทศไทยในปี 2564

ผู้ผลิต EV ของจีนอย่าง MG และ Great Wall ได้ตั้งโรงงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อีกทั้ง BYD ผู้ผลิต EV รายใหญ่ที่สุดของจีนและ Neta Auto ผู้ผลิต EV สตาร์ทอัพของจีนก็ตั้งฐานการผลิตในไทยเช่นกัน

รัฐบาลไทยต้องการให้การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสูงถึงประมาณร้อยละ 30 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573 ผลสำรวจพบว่าปริมาณการขายรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 10,000 คันในปี 2565 จากที่ในปี 2564 มีจำนวนน้อยกว่า 2,000 คัน ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณการขายจะเพิ่มเป็นสองเท่าในปี 2566

ดร.จุฬากล่าวว่า บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าของจีนได้ดึงดูดบริษัทที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุตสาหกรรมรถยนต์มายังประเทศไทย ซึ่งรวมถึงชิ้นส่วนรถยนต์ ล้อยางรถยนต์ แบตเตอรี่ และสถานีชาร์จ

ไม่เพียงสร้างการจ้างงานในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังนำเทคโนโลยีและการฝึกอบรมผู้มีความสามารถเข้ามาช่วยในการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรแรงงานของไทยด้วย

EEC ซึ่งครอบคลุม 3 จังหวัดชายฝั่งตะวันออกจนถึงกรุงเทพฯ ได้แก่ ระยอง ชลบุรีและฉะเชิงเทรา เป็นหัวใจสำคัญของความพยายามของรัฐบาลในการส่งเสริมการเติบโตและสนับสนุนการลงทุน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมไฮเทค

โครงการนี้มุ่งเน้นไปที่การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและการใช้มาตรการแรงจูงใจในการลงทุนเพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนถ่ายจากการพึ่งพาแรงงานราคาถูก

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียม ยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มีสัดส่วนการลงทุนที่สูงสุดในภูมิภาค

ข้อมูลจากเลขาธิการฯ ระบุว่า ในไตรมาสแรกของปี 2561 การลงทุนจากจีนนับเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 10 ของการลงทุนจากต่างชาติในเขต EEC จีนได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนรายสำคัญ และมีบทบาทอย่างมากต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ดั่งเช่น ความร่วมมือทางอุตสาหกรรมและการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ ในการที่นักท่องเที่ยวจีน ในฐานะตลาดแหล่งที่ใหญ่ที่สุด ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย