ศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจอาเซียน: สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างพื้นที่สูงทางวัฒนธรรมและศิลปะนานาชาติ

(People's Daily Online)วันศุกร์ 02 มิถุนายน 2023

วัฒนธรรมจีนถูกนำเสนออย่างไรภายใต้พู่กันของศิลปินอาเซียน เมื่อเร็วๆ นี้ผู้สื่อข่าวไปพบคำตอบที่ศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจอาเซียน

“ศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจอาเซียนอาศัยทรัพยากรอันมหาศาลของ 10 ประเทศอาเซียนบวก 6 ประเทศ สร้างฐานความคิดสร้างสรรค์สำหรับศิลปินอาเซียน และสร้างพันธมิตรความร่วมมืออุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรมข้ามชาติให้แข็งแกร่ง”

นางกุ้ย กวงฮุย ผู้อำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจอาเซียนกล่าวว่า ทางศูนย์ได้พยายามสร้างเวทีแลกเปลี่ยนในด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศ เศรษฐกิจการค้า การศึกษาและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมจีนแบบดั้งเดิม นำวัฒนธรรมความหลากหลายจากต่างประเทศเข้ามา 

นับตั้งแต่ก่อตั้งศูนย์แห่งนี้ ทางศูนย์แลกเปลี่ยนฯ ได้ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมระหว่างประเทศทั้งในและต่างประเทศมาแล้ว 25 ครั้ง และจัดงานนิทรรศการร่วมบูติกศิลปะจีน-ไทย ฤดูกาลสร้างสรรค์วัฒนธรรมและศิลปะอาเซียน การฉายภาพยนตร์เซี่ยเหมิน-ไทย เสียงดนตรีเซี่ยเหมิน-จีน-ฟิลิปปินส์ และ IP ศิลปะนานาชาติอื่น ๆ

เมื่อบรรยายผลงานชิ้นหนึ่งของศิลปินอาเซียน นางกุ้ย กวงฮุยกล่าวว่า “ทางศูนย์ใช้ศิลปะเป็นสื่อบูรณาการทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูง”

ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2562 นิทรรศการ “Qinshihuang-The First Emperor of China and the Terracotta Warriors” ซึ่งจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ถือเป็นนิทรรศการโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมครั้งแรกที่จัดร่วมโดยจีน-ไทย และเป็นโครงการสำคัญที่ปฏิบัติในข้อตกลงความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการยกระดับความร่วมมือระหว่างจีน-ไทยเชิงปฏิบัติ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และยกระดับความร่วมมือทางวัฒนธรรมจีน-ไทย

การฉายภาพยนตร์เซี่ยเหมิน-ไทย เสียงดนตรีเซี่ยเหมิน-จีน-ฟิลิปปินส์ต่างเป็น IP ที่สร้างสรรค์ร่วมโดยทางศูนย์แลกเปลี่ยนฯ และสถานกงสุลใหญ่ไทย ณ นครเซี่ยเหมิน มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างทั้งสองประเทศ “เสียงดนตรีเซี่ยเหมิน-จีน-ฟิลิปปินส์”เป็นแบรนด์ใหม่ที่สร้างขึ้นโดยทางศูนย์ฯ และสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำนครเซี่ยเหมินในปี พ.ศ. 2565  เพื่อส่งเสริมความเข้าใจทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ รวมถึงเพื่อแสดงพลังเชิงบวกในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ

ในปีหน้า ศูนย์แลกเปลี่ยนฯ จะให้ความสำคัญในการเร่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์ “การก้าวออกไป” เช่น การสร้างแบรนด์สัปดาห์วัฒนธรรมภาพยนตร์ฝูเจี้ยน-อาเซียน เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางอุตสาหกรรมวัฒนธรรม