นาขั้นบันไดอายุนับพันปีในมณฑลยูนนาน เปล่งประกายด้วยชีวิตใหม่
เกษตรกรกำลังหว่านข้าวในนาขั้นบันไดในหมู่บ้านต้าซิง อำเภอหลี่ว์ชุน
เขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋ หงเหอ ในมณฑลยูนนาน
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (ภาพโดยจาง หงเข่อ)
ณ เขตปกครองตนเองชนชาติอาข่า (ฮาหนี) และอี๋ หงเหอ ในมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มได้สร้างนาขั้นบันไดหงเหอฮาหนีในพื้นที่แห่งนี้มาเป็นเวลานานกว่า 1,300 ปี ขณะนี้กำลังโอบล้อมด้วยชีวิตใหม่ เก็บเกี่ยวผลผลิตจากการพัฒนาและปกป้องสิ่งแวดล้อมมายาวนานกว่า 10 ปี
นาขั้นบันไดที่ตั้งอยู่ตามทางลาดของภูเขาอายเหลา (Ailao Mountains) จรดฝั่งแม่น้ำหงเหอ เป็นอารยธรรมเกษตรกรรมที่มหัศจรรย์ยิ่ง แสดงให้เห็นถึงระบบนิเวศเกษตรกรรมแบบพึ่งพาอาศัยระหว่างป่าไม้ หมู่บ้าน นาขั้นบันไดและแม่น้ำ และนับเป็นผลสำเร็จในการอยู่ร่วมกันระหว่างธรรมชาติและมนุษย์
ในปี 2556 ภูมิทัศน์วัฒนธรรมนาขั้นบันไดของหงเหอฮาหนีครอบคลุมหลายอำเภอ รวมถึงอำเภอหยวนหยาง อำเภอลี่ว์ชุน และอำเภอจินผิง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนในรายการมรดกโลกของยูเนสโก นาขั้นบันไดหงเหอฮาหนียังเป็นระบบมรดกทางเกษตรกรรมที่สำคัญระดับชาติและระดับโลกด้วย
ประชาชนในพื้นที่ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ระบายน้ำในร่องน้ำและคูน้ำไม่ให้มีสิ่งกีดขวางใด ๆ เพื่อปกป้องการทำนาขั้นบันได หม่า โหย่วหมิง ชาวบ้านในหมู่บ้านหนิวเจี่ยวไจ้ เป็นหนึ่งในนั้น
หม่า กล่าวว่า “น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญต่อนาขั้นบันได มันเป็นหน้าที่ของพวกเราในการปกป้องระบบการไหลของน้ำในนาขั้นบันได”
ประชาชนในกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ หลายกลุ่มได้บรรลุฉันทามติในการปกป้องป่าไม้ที่หล่อเลี้ยงน้ำในนาขั้นบันไดมาเป็นเวลากว่า 1,000 ปี มีการเลือกชาวบ้านในพื้นที่มาเป็นเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าสำหรับวัตถุประสงค์นี้
เฉิน เจิ้งคัง เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในอำเภอลี่ว์ชุน ได้ค่าตอบแทนเป็นเงินอุดหนุน 8,000 หยวนต่อปี เฉิน กล่าวว่า “ป่าไม้จะช่วยอุ้มน้ำไว้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการทำนาขั้นบันได การปกป้องป่าไม้เท่ากับปกป้องนาขั้นบันได”
ทัศนียภาพนาขั้นบันไดหลากสีในหมู่บ้านตัวอีชู่ อำเภอหยวนหยาง
เขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋ หงเหอ มณฑลยูนนาน
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน (ภาพโดยลู่ จง)
การเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรชายขอบให้เป็นป่า การจัดตั้งเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ การปกป้องพื้นที่เพาะปลูกขั้นพื้นฐาน และการกำหนดกฎระเบียบเพื่อการคุ้มครองนาขั้นบันไดในอำเภอหยวนหยาง ทำให้พืชพรรณและป่าไม้ในภูมิภาคแห่งนี้มีจำนวนร้อยละ 67 และ 49.6 ตามลำดับ
หมู่บ้านแบบดั้งเดิมก็ได้รับการอนุรักษ์ไว้ ดั่งเช่น หมู่บ้านอาเจ๋อเค่อ ในอำเภอหยวนหยาง บ้านแบบดั้งเดิมที่รู้จักกันในชื่อ “บ้านเห็ด” เนื่องจากโครงสร้างของบ้านเหมือนเห็ด
อย่างไรก็ตาม หมู่บ้านแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยประสบกับความท้าทาย ไม่มีการซ่อมแซมบ้านแบบดั้งเดิมและชาวบ้านจำนวนมากต่างวางแผนที่จะปรับปรุงบ้านของตนให้เป็นบ้านที่สร้างจากคอนกรีต
เพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าว ในปี 2561 อำเภอหยวนหยางและมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นได้ร่วมสร้างแผนพัฒนาโดยให้ชาวบ้านเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น เพื่อมุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ และดึงดูดชาวบ้านให้ปกป้องหมู่บ้านดั้งเดิมผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยเหตุนี้ ที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมจึงได้รับการปรับปรุงใหม่ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยแต่คงไว้ซึ่งลักษณะดั้งเดิม และอาเจ๋อเค่อ ก็กลายเป็นหมู่บ้านที่มีชีวิตชีวา
บ้านแบบดั้งเดิม ที่รู้จักกันในชื่อ “บ้านเห็ด” ในหมู่บ้านอาเจ๋อเค่อ
อำเภอหยวนหยางเขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋ หงเหอ
ในมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
(ภาพโดยหลง จวิน)
แผนดังกล่าวทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นเดินทางมาเยือนสถานที่แห่งนี้ และช่วยส่งเสริมรายได้ให้ชาวบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านฮาหนี แบบโพลีโฟนิกได้รับการสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นโดยชาวฮาหนี ซึ่งพวกเขามักจะร้องเพลงพื้นบ้านขณะที่ทำนา เพลงของพวกเขาก็เป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ประจำชาติ ไม่มีการบันทึกกันเป็นอักษรแต่ถูกถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่นด้วยการสอนและร้องเพลงร่วมกัน
เฉิน ซีเหนียง (กลาง) ผู้สืบทอด “เพลงพื้นบ้านฮาหนีแบบโพลีโฟนิก”
มรดกที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติ ภาพถ่ายเมื่อปี 2564
(ภาพโดยหู เหยียนฮุ่ย)
ดนตรีพื้นบ้านฮาหนีแบบแบบโพลีโฟนิก กำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก และเคยมีการแสดงที่งาน Expo ค.ศ. 2015 ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี
เมื่อเพลงฮาหนีได้รับความนิยม ทางอำเภอหยวนหยางได้ผสมผสานวัฒนธรรมการทำฟาร์มแบบดั้งเดิมของฮาหนีเข้ากับการท่องเที่ยว และในเดือนเมษายนปีนี้ ได้จัดกิจกรรมเพื่อฉลองครบรอบ 10 ปี ที่ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของนาข้าวขั้นบันไดหงเหอฮาหนีได้รับการจารึกเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ในระหว่างงาน มีการแสดงดนตรีเพลงฮาหนี นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับการปลูกต้นกล้าและวัฒนธรรมการทำนาขั้นบันได้ของฮาหนี
ภาพบุฟเฟต์ริมถนนในอำเภอลี่ว์ชุน เขตปกครองตนเองชนชาติอาข่าและอี๋
หงเหอ ในมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
(ภาพโดยเหลียง หรงเชิ่ง)
รัฐบาลท้องถิ่นได้ใช้นาขั้นบันไดหงเหอฮาหนี เพื่อขยายช่องทางสำหรับเกษตรกรในการเพิ่มรายได้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยการพัฒนาการท่องเที่ยว ส่งเสริมรูปแบบการทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศแบบดั้งเดิมของฮาหนีที่ผสมผสานการปลูกข้าว การเลี้ยงปลา การเลี้ยงเป็ด และการโฆษณาผลิตผลของฟาร์มผ่านอินเทอร์เน็ต
ต้องขอบคุณความพยายามทั้งหมดนี้ที่ช่วยให้รายได้เฉลี่ยสุทธิส่วนบุคคลของเกษตรกรในภูมิภาคแห่งมรดกโลกเพิ่มขึ้นจาก 3,928 หยวน ในปี 2556 เป็น 12,502 หยวน ในปี 2566