จากปักกิ่ง เซินเจิ้นสู่เฉิงตู กีฬามหาวิทยาลัยโลกแสดงให้เห็นถึงจีนที่เปลี่ยนไป
กีฬาสำหรับทุกเมือง
กีฬามหาวิทยาลัยโลกเฉิงตูเดิมทีมีแผนจะจัดในช่วงฤดูร้อนในปี 2564 แต่ต้องเลื่อนออกไปจัดในปี 2566 เพราะเหตุการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 แม้จะมีความท้าทายในด้านนี้แต่เฉิงตูก็สามารถจัดการทุกอย่างได้เรียบร้อยก่อนการเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา
การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกปักกิ่งในปี 2544 ได้รับการจัดขึ้นหนึ่งเดือนหลังจากเมืองหลวงของจีนได้รับสิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2551 ซึ่งถือว่าเป็นการซ้อมจัดงานกีฬาโอลิมปิกอย่างเต็มรูปแบบ จากบทเรียนที่ปักกิ่งได้รับจากการจัดงานกีฬามหาวิทยาลัยโลกทำให้ประสบความสำเร็จในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฯ ด้วยความสามารถในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติของจีน
ในปี 2554 เซินเจิ้น ศูนย์กลางแห่งเศรษฐกิจวัย 30 ปี ณ เวลานั้น ประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการเป็นเจ้าภาพของจีนอย่างต่อเนื่อง
นครเฉิงตูมีประวัติศาสตร์กว่า 2,300 ปี เป็นเมืองที่สามในจีนแผ่นดินใหญ่ที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันมหาวิทยาลัยฤดูร้อนที่จัดขึ้นทุกสองปี Leonz Eder รักษาการณ์ประธานสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยนานาชาติได้เดินทางมาจีนมากกว่า 20 ครั้งตั้งแต่ทริปแรกของเขาในปี 2528 เขากล่าวว่า “จีนจะเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาของพวกเราด้วยความกระตือรือร้นและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่เสมอ และนั่นคือเหตุผลที่เรามีความสุขทุกครั้งที่กลับไปที่เมืองใด ๆ ของจีนเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน”
Emiliano Ojea ประธานผู้ก่อตั้งสหพันธ์กีฬาแห่งมหาวิทยาลัยอาร์เจนติน่า ผู้เข้าร่วมในเซินเจิ้นเมื่อปี 2554 กล่าวว่า “จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเป็นเจ้าภาพในระดับสูงสุดในโลก ด้วยการมีสถานที่แข่งขันกีฬาและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง รวมถึงกิจกรรมที่กระตือรือร้นและเป็นมืออาชีพ”
เป็นครั้งแรกที่เมืองในภูมิภาคตะวันตกของจีนได้เป็นเจ้าภาพในงานกีฬาระดับนานาชาติที่สำคัญ เช่นงานกีฬามหาวิทยาลัยโลกเฉิงตู และถือเป็นบทพิสูจน์ถึงการพัฒนาของประเทศจีนในภาพรวม
Leonz Eder รักษาการณ์ประธานสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยนานาชาติ (International University Sports Federation หรือ FISU)
กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 31 ในเฉิงตู มณฑลเสฉวน
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนภาพ ถ่ายเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2566 (ซินหัว/หยาง ฉิง)
แรงกระตุ้นในการพัฒนาเมือง
การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยฤดูร้อนปี 2544 เป็นการเริ่มต้นการเดินทางของปักกิ่งในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาวตลอดช่วง 14 ปี ในขณะที่การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกปี 2554 มีบทบาทในการผงาดขึ้นของเซินเจิ้นในฐานะจุดหมายปลายทางสำหรับการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ
ในทำนองเดียวกัน กีฬามหาวิทยาลัยโลกเฉิงตูได้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเมืองในภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการจัดงาน เฉิงตูได้สร้างสถานที่ใหม่ 13 แห่งและปรับปรุงสถานที่เดิม 36 แห่ง รวมทั้งผู้คนในเมืองต่างมีความกระตือรือร้นในการเล่นกีฬามากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากผู้คนต่างมาออกกำลังกายหลากหลายประเภทในสวนสาธารณะ ศูนย์ของชุมชน และใต้สะพานลอยทุกเช้าเย็น
งานกีฬามหาวิทยาลัยโลกเฉิงตูได้นำเสนองานเลี้ยงทางกีฬาระดับสูงที่สร้างผลกระทบทางบวกต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคน รวมทั้งพวกเขาก็รู้สึกใส่ใจกีฬาและสุขภาพมากขึ้น จาง เปียว เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเฉิงตูกล่าวว่า เด็ก 5 ขวบในชุมชนได้เข้าชมการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำและได้รบเร้าให้แม่ช่วยลงคอร์สเรียนว่ายน้ำให้เขา
ในปี 2560 เฉิงตูได้ผลักดันกลยุทธ์ในการสร้างเมืองของตนให้เป็นศูนย์กลางทางการจัดงานกีฬาระดับนานาชาติ ประสบการณ์ของเมืองที่เฟื่องฟูแห่งนี้ได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก รวมถึงการแข่งขันปิงปองชิงแชมป์โลกเมื่อปีที่แล้ว จะช่วยให้เมืองนี้เข้าใกล้เป้าหมายได้มากขึ้น
ในปี 2568 นครเฉิงตูจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเวิลด์เกมส์ (World Games) นาย Elder เห็นว่า เมืองเฉิงตูมีความสามารถในการจัดการกิจกรรมระดับนานาชาติในระดับสูงได้ รวมถึงการจัดกีฬาโอลิมปิกเพราะมีสถานที่ที่มีคุณภาพและมีประสบการณ์ในการจัดงาน
และกล่าวเพิ่มว่า “นับเป็นกลยุทธ์ระยะกลางและระยะยาวในการสร้างความสัมพันธ์กับสหพันธ์กีฬานานาชาติ ซึ่งช่วยส่งเสริมเฉิงตูในเวทีโลกและกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง”