นักวิชาการแอฟริกันระบุข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางช่วยให้แอฟริกาเป็นแดนแห่งการพัฒนา
นายเดนนิส มูเนเน มวันนิกี (Dennis Munene Mwaniki) กรรมการบริหารสถาบันนโยบายแอฟริกากล่าวในการให้สัมภาษณ์พิเศษกับโกลบอลไทมส์ว่านักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกบางคนเคยกล่าวว่าแอฟริกาเป็นทวีปที่สิ้นหวัง แต่ด้วยความร่วมมือระหว่างจีน-แอฟริกาและข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” หรือ BRI ทำให้แอฟริกากลายเป็นแดนแห่งการพัฒนา
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา แอฟริกาถูกมองเป็นประเทศด้อยพัฒนา แต่ปัจจุบัน ด้วยข้อริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ทวีปนี้สามารถมีทางหลวงยาวกว่า 100,000 กิโลเมตร สะพานราว 1,000 สะพาน และท่าเรือประมาณ 100 แห่งซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีการจ้างงานจำนวนมาก นายเดนนิสตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เห็นได้ในปัจจุบัน ซึ่งแอฟริกาได้รับจาก BRI
องค์กรพัฒนาเอกชนและสถาบันการศึกษาของจีนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิชาการแอฟริกันอย่างลึกซึ้งผ่านโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
นายเดนนิส มูเนเน มวันนิกี ตั้งข้อสังเกตว่าสื่อและนักการเมืองโลกตะวันตกกำลังพยายามผลักชาวแอฟริกันออกจากจีนเพราะที่ใดมีการพัฒนา ที่นั่นย่อมมีความสงบสุข นี่เป็นสาเหตุที่ทำไมสื่อและนักการเมืองตะวันตกให้ความสนใจต่อการเมืองหรือภูมิศาสตร์การเมืองมากเป็นพิเศษ ไม่ใช่การพัฒนา
เขากล่าวเพิ่มเติมว่า “สหรัฐอเมริกาและประเทศในโลกตะวันตกพยายามตอบโต้อิทธิพลของจีนในแอฟริกา แต่สำหรับพวกเราชาวแอฟริกัน สิ่งที่พวกเราต้องการคือการพัฒนาที่ยั่งยืน และนั่นคือสิ่งที่จีนกำลังให้พวกเรา BRI ที่เสนอโดยจีนได้ช่วยประเทศในแอฟริกา รวมถึงเคนยา ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น ทำให้แอฟริกายืนอยู่ในแดนแห่งการพัฒนา ในขณะที่จีนก็ได้ประโยชน์จากความร่วมมือแบบวิน-วินเช่นกัน”
นายเดนนิส มูเนเน มวันนิกีคาดหวังอย่างสูงต่ออนาคตความร่วมมือระหว่างจีน-แอฟริกาภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง “ปีนี้ป็นวาระครบรอบ 10 ปีของข้อริเริ่ม ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ และครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเคนยาและจีน เคนยาได้ประโยชน์จากความร่วมมือกับจีน ความทันสมัยของจีนได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับ ‘ความฝันแอฟริกา’ ของพวกเรา และแอฟริกาก็หวังที่จะสำรวจเส้นทางของตนเองและบรรลุผลสำเร็จเช่นเดียวกับจีน”