จีน-อาเซียนผนึกกำลังอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น เพื่อสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน

(People's Daily Online)วันศุกร์ 22 กันยายน 2023


ดอกไม้ประดับหน้าศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติหนานหนิง เพื่อต้อนรับมหกรรมจีน-อาเซียน
ครั้งที่ 20 เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน (พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์/จ้าว จิ่งอู)

การประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนจีน-อาเซียนและมหกรรมจีน-อาเซียน ครั้งที่ 20 ได้จัดขึ้นในวันที่ 16 กันยายนที่หนานหนิง เมืองเอกของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

เว่ย จ้าวฮุย เลขาของสำนักเลขาธิการมหกรรมจีน-อาเซียนกล่าวว่า ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่โดดเด่นเข้าสู่ตลาดจีนผ่านทางมหกรรมจีน-อาเซียนเป็นจำนวนมากขึ้น เช่น ทุเรียนจากเวียดนาม มังคุดจากไทย และกาแฟจากอินโดนีเซีย

มหกรรมจีน-อาเซียน และการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนจีน-อาเซียนกลายเป็นแพลทฟอร์มสำคัญสำหรับการสื่อสารและความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียน

การประชุมผู้นำจีน-อาเซียน (10+1) ในปี 2546 จีนได้เสนอให้มีการจัดมหกรรมจีน-อาเซียนในเมืองหนานหนิงทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา มหกรรมจีน-อาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2547 ประสบความสำเร็จและได้ตั้งรกรากอย่างถาวรในเมืองหนานหนิง รวมถึงการจัดงานประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนจีน-อาเซียนด้วย

มหกรรมจีน-อาเซียนและการประชุมสุดยอดดังกล่าวได้สร้างสะพานเชื่อมความร่วมมือฉันมิตรในหลายสาขา ก่อให้เกิดช่องทางใหม่สำหรับความร่วมมือจีน-อาเซียน

ในปีที่ผ่านมา เป็นปีที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP) เริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก นางสาวเบญจมาศ ตันเวทยานนท์ กงสุลใหญ่ ณ เมืองหนานหนิงกล่าวว่า “งานมหกรรมจีน-อาเซียนได้สนับสนุนการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนและ RCEP ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ช่วยเปิดกว้างพื้นที่สำหรับความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ และกระตุ้นการบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงอัดฉีดแรงผลักดันที่เข็มแข็งสู่ความเจริญรุ่งเรืองและเสถียรภาพของภูมิภาค”

ความร่วมมือทางการค้าเป็นพยานที่สำคัญในการสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น จากสถิติแสดงให้เห็นถึงปริมาณการค้าแบบทวิภาคีระหว่างจีนและกลุ่มอาเซียนเพิ่มสูงขึ้นจากมากกว่า 100 พันล้านเหรียญ (ราว 3,649 พันล้านบาท)ในปี 2547 เป็น 975.34 พันล้านเหรียญในปี 2565 (ราว 35,590 พันล้านบาท)


รถไฟหัวกระสุนวิ่งบนทางรถไฟจีน-ลาวในเมืองจิ่งหง มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
(พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์/หลี่ อวิ้นเฉิง)

ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการก่อสร้าง เปิดถนนและทางรถไฟสายต่าง ๆ มีการยกระดับและปรับปรุงท่าเรือต่าง ๆ รวมถึงมีการเชื่อมต่อทางลอจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ช่วยกระตุ้นการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน

จากสถิตินับตั้งแต่มีการเปิดให้บริการโดยสารทางรถไฟข้ามประเทศจีน-ลาวมาจนถึงปัจจุบัน มีผู้โดยสารมากกว่า 20 ล้านรายได้ใช้บริการ นอกจากนี้ ข้อตกลงเรื่องการลงทุนสำหรับนิคมอุตสาหกรรมกวนตันมาเลเซีย-จีน มีมูลค่าประมาณ 46 พันล้านหยวน (ราว 225 พันล้านบาท) โดยมีมูลค่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมโดยรวมมากกว่า 60 พันล้านหยวน (ราว 294 พันล้านบาท)