นวัตกรรมขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพสูงของจีน

(People's Daily Online)วันพุธ 20 ธันวาคม 2023

ตามข้อมูลจากรายงานตัวบ่งชี้ทรัพย์สินทางปัญญาโลกประจำปี 2566 ที่เพิ่งออกโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) เผยว่า ในปี 2565 จีนมีการจดสิทธิบัตรทางปัญญา ราว 1.6 ล้านฉบับ ถือเป็นอันดับหนึ่งในโลก

จากการสำรวจดัชนีนวัตกรรมระดับโลกประจำปี 2566 ของ WIPO พบว่า จีนอยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก โดยมีตัวชี้วัด 6 ตัวอยู่ในอันดับที่หนึ่งของโลก นอกจากนี้ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก 24 กลุ่มของจีนยังส่งผลให้จีนเป็นที่หนึ่งของโลกในการจัดอันดับที่เกี่ยวข้องเป็นครั้งแรกอีกด้วย


หุ่นยนต์อัจฉริยะกำลังบรรทุกสิ่งของในโรงงานแห่งหนึ่งในมณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน
(พีเพิลส์ เดลี่ออนไลน์/เหมิง เต๋อหลง)

ตัวเลขเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่า จีน ซึ่งร่วมอยู่ในลำดับของนักนวัตกรรมโลกยังคงปรับปรุงความสามารถของตนเองด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง

ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา เศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวและอยู่ในระดับดีขึ้น จีนสร้างความก้าวหน้าในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูงอย่างแข็งแกร่งและกำลังสร้างความก้าวหน้าในระบบอุตสาหกรรมทันสมัย นอกจากนี้ จีนก็มีความก้าวหน้าที่สำคัญในการประสบผลสำเร็จในนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผู้สังเกตการณ์ต่างประเทศกล่าวว่า จีนได้เพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพสูง และส่งเสริมวงจรที่ดีงามของภาควิชาการ นวัตกรรม และการผลิต


โรงงานผลิตจอแสดงผลอัจฉริยะของบริษัทเทคโนโลยีแห่งหนึ่งที่มีแหล่งผลิตในเมืองเหอเฟย
มณฑลอันฮุย ทางตะวันออกของจีน (พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์/เซี่ย เฉิน)

เศรษฐกิจจีนได้เปิดสาขาและเส้นทางใหม่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งที่อยู่ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมขนาดยาว มีเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นสูง และความสามารถในการขับเคลื่อนที่แข็งแกร่งได้เร่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเติบโตของการส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ของจีนอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนในเรื่องนี้

บริษัทต่างชาติรายใหญ่จำนวนมากขึ้นที่เข้ามาลงทุนในประเทศจีนเชื่อว่า นวัตกรรมทางเทคโนโลยีจำนวนมากมีต้นกำเนิดจากประเทศจีนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงเผยแพร่สู่ประเทศต่าง ๆ ในโลก


นิคมนวัตกรรมกาแฟสตาร์บัคส์ในจีนเปิดทำการในเมืองคุนชาน มณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 (พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์/หวัง ซวีจง)

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่เพียงแต่พยุงโมเมนตัมในการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน แต่ยังนำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาที่จับต้องได้ให้แก่ประเทศอื่น ๆ ในโลกด้วย

จีนได้สร้างความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ กว่า 160 แห่ง รวมทั้ง ได้ลงนามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลด้านความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้วจำนวน 116 ฉบับ

จีนยังได้ลงนามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กว่า 80 ประเทศ โดยร่วมกันจัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วมมากกว่า 50 แห่ง สร้างศูนย์สาธิตเทคโนโลยีการเกษตรมากกว่า 20 แห่ง และนิคมอุตสาหกรรมในต่างประเทศประมาณ 70 แห่ง