“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” กับการเดินทาง 10 ปี
ฤดูใบไม้ร่วงในปี พ.ศ. 2556 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญสองประการ คือ “แถบพัฒนาเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” และ “เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” ในวาระครบรอบ 10 ปีของการเสนอข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ในปีนี้ พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์รวบรวมความสำเร็จที่เกิดขึ้นในการร่วมกันสร้าง "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" จากสามมิติของการเชื่อมต่อทางบก ทางทะเล และทางอากาศ
ทางบก
ภาพจาก CFP
รถไฟเคนยา: มอมบาซา-ไนโรบี
ทางรถไฟสายมอมบาซา-ไนโรบีสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยและเริ่มเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560
ทางรถไฟสายแรกที่สร้างขึ้นในเคนยานับตั้งแต่ได้รับเอกราช คือ ทางรถไฟสมัยใหม่ที่สร้างขึ้นโดยใช้มาตรฐานจีน เทคโนโลยีของจีน และอุปกรณ์ของจีน
ช่วยสร้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ประเทศเคนยา มากกว่า 74,000 ตำแหน่ง อบรมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีความสามารถในการจัดการด้านรถไฟคุณภาพสูงมากกว่า 2,800 ราย ช่วยกระตุ้นให้จีดีพีเคนยาเติบโตอย่างน้อยร้อยละ 2
ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 รถไฟสายมอมบาซา-ไนโรบีได้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐานรวม 2.405 ล้านตู้และขนส่งสินค้า 28.609 ล้านตัน ให้บริการขนส่งผู้โดยสารรวม 11.155ล้านเที่ยว อัตราการโดยสารเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 95.8 และในวันที่มีผู้โดยสารสูงสุดเพียงวันเดียวมีการวิ่งส่งผู้โดยสารเกิน 10,000 คน
ภาพจาก CFP
รถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุงในประเทศอินโดนีเซีย
รถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุงในประเทศอินโดนีเซียเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566
รถไฟความเร็วสูงสายแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความยาวรวม 142 กิโลเมตร ออกแบบให้มีความเร็ว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำระบบ องค์กรประกอบ และห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมดของทางรถไฟความเร็วสูงของจีนไปใช้งานในต่างประเทศ
มีการสร้างงานในท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซียทั้งหมด 51,000 ตำแหน่ง
ภาพจาก CFP
รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว
รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม 2564
ข้อมูลถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2566 จำนวนรวมสะสมในการขนส่งผู้โดยสารมากกว่า 21.9 ล้านคน
มีรถไฟบรรทุกสินค้ามากกว่า 26,000 ขบวน บรรทุกสินค้าได้ 26.8 ล้านตัน หมวดหมู่สินค้าได้เพิ่มขึ้นจากในระยะเริ่มแรกที่มีจำนวนมากกว่า 10 ประเภท เป็นมากกว่า 2,700 ประเภท
ในปี 2565 ในบรรดาสินค้าที่ขนส่งทางรถไฟระหว่างจีนและอาเซียน สัดส่วนของสินค้าที่ขนส่งผ่านทางรถไฟจีน-ลาวจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 44.7 ซึ่งมีส่วนช่วยให้การนำเข้าและส่งออกโดยการขนส่งทางรถไฟระหว่างจีนและอาเซียนเติบโตกว่าร้อยละ 60
ภาพจาก CFP
รถไฟบรรทุกสินค้าจีน-ยุโรป
บริษัท ไชน่า เรลเวย์ (China Railway) เปิดตัวแบรนด์รถไฟจีน-ยุโรปแบบครบวงจรอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2559
10 ปีที่ผ่านมา รถไฟบรรทุกสินค้าจีน-ยุโรปมีจำนวนทั้งสิ้น 81,000 ขบวน เดินทางมากกว่า 700 ล้านกิโลเมตร ขนส่งสินค้ามากกว่า 7.6 ล้าน TEU มูลค่ารวมของสินค้าเกิน 3.4 แสนล้านเหรียญดอลลาร์
10 ปีที่ผ่านมา ประสิทธิภาพในการผ่านพิธีการศุลกากรของรถไฟจีน-ยุโรปก็มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ในปัจจุบัน ระยะเวลาดำเนินพิธีการศุลกากรลดลงจาก 27 ชั่วโมงเหลือ 10.9 ชั่วโมง
ขณะนี้ รถไฟบรรทุกสินค้าจีน-ยุโรปได้เดินทางเข้าถึง 217 เมือง ใน 25 ประเทศในทวีปยุโรป
ภาพจากซินหัว
รถไฟแอดดิสอาบาบา-จิบูตี
สร้างเสร็จอย่างเป็นทางการและเปิดให้สัญจรเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2559
เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2561
เส้นทางรถไฟฟ้าสายแรกที่สร้างขึ้นโดยจีนในแอฟริกาและทางรถไฟฟ้าสมัยใหม่ข้ามชาติแห่งแรกในแอฟริกาล้วนใช้มาตรฐานและอุปกรณ์ของจีน
ในระหว่างการก่อสร้างและดำเนินโครงการ มีการสร้างงานในท้องถิ่นมากกว่า 50,000 ตำแหน่ง และมีการฝึกอบรมบุคลากรมืออาชีพด้านเทคนิคการรถไฟมากกว่า 3,000 คน มีการฝึกอบรมพนักงานขับรถไฟท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น 107 คนแล้ว
ทางทะเล
ภาพจาก CFP
สะพานมิตรภาพจีน-มัลดีฟส์
สะพานมิตรภาพจีน-มัลดีฟส์ก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561
นับเป็นสะพานที่ทันสมัยแห่งแรกในมัลดีฟส์ และเป็นสะพานข้ามทะเลแห่งแรกในมหาสมุทรอินเดีย
สะพานแห่งนี้รองรับผู้โดยสารสูงถึงหลายร้อยล้านคน โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยรอบกรุงมาเล่ในการสัญจรในชีวิตประจำวัน
ภาพจาก CFP
สะพานปัทมาในประเทศบังคลาเทศ
สะพานปัทมาในประเทศบังคลาเทศเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2565
ชาวบังคลาเทศเรียกสะพานแห่งนี้ว่า “สะพานแห่งความฝัน”
ช่วยเชื่อมต่อ 21 เขตทางตะวันตกเฉียงใต้ของบังกลาเทศกับเมืองหลวงธากา และร่นระยะเวลาเดินทางจากเดิมที่ใช้ถึง 7-8 ชั่วโมง ลดลงเหลือเพียง 10 นาที
สะพานแห่งนี้ช่วยสร้างการเติบโตให้จีดีพีบังกลาเทศประมาณร้อยละ 1.5 ต่อปี เป็นประโยชน์ต่อผู้คนมากกว่า 80 ล้านคน
ทางอากาศ
ภาพจาก CFP
“เส้นทางสายไหมทางอากาศ” เจิ้งโจว-ลักเซมเบิร์ก
เส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางอากาศจากเจิ้งโจวไปยังลักเซมเบิร์กได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2557 นับเป็นการสร้าง "เส้นทางสายไหมทางอากาศ" เพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างจีน-ยุโรป
การค้าสินค้าบน “เส้นทางสายไหมทางอากาศ” เจิ้งโจว-ลักเซมเบิร์ก ครอบคลุมเมืองต่าง ๆ มากกว่า 200 เมือง ใน 24 ประเทศทั่วยุโรป และเมืองต่าง ๆ ในจีนมากกว่า 90 เมือง
ข้อมูลจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2566 คาร์โกลักซ์ (Cargolux) ได้ให้บริการเที่ยวบินทั้งหมด 6,062 เที่ยวบินในเส้นทางขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างเจิ้งโจวสู่ลักเซมเบิร์ก มีส่วนช่วยขนส่งสินค้ามากกว่า 1 ล้านตัน