ท่องเที่ยวตามรอยเท้ามาร์โค โปโล ร่วมสำรวจเมืองฉวนโจว

(People's Daily Online)วันพุธ 24 มกราคม 2024

ในปี 2564 เมืองฉวนโจว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกแห่งองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 44 ครอบคลุมแหล่งวัฒนธรรม 22 แห่งในฉวนโจว เชิญชมวิดีทัศน์สารคดีนี้ที่ถ่ายในปี 2562 และร่วมสัมผัสฉวนโจวอีกครั้ง เมืองประวัติศาสตร์นับพันปีบนเส้นทางสายไหมทางทะเล

ท่าเรือฉวนโจวเป็นหนึ่งใน 4 ท่าเรือหลักของจีนที่ใช้งานภายใต้ราชวงศ์ถัง และกลายเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในสมัยราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หยวน มีการเชื่อมโยงกับท่าเรืออื่นประมาณ 100 แห่งตามแนวเส้นทางสายไหมทางทะเล และนักสำรวจยุคกลางที่มีชื่อเสียงหลายคน รวมถึงมาร์โค โปโล ได้เขียนคำอธิบายท่าเรือแห่งนี้ว่าเป็นหนึ่งในท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การสื่อสารโพ้นทะเลของฉวนโจว (Quanzhou Museum of Overseas Communication History) นำเสนอข้อมูลเชิงลึกทางประวัติศาสตร์การค้าของเมือง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงสินค้าจำนวนมากที่จีนขายสู่ต่างประเทศ และให้รายละเอียดของธุรกิจที่หลั่งไหลเข้าสู่ฉวนโจวในเวลาเดียวกัน ตลอดจนวัฒนธรรมและศาสนาต่าง ๆ อันแตกต่างกันที่เดินทางมาพร้อมกับนักธุรกิจที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในฉวนโจว

เป็นเรื่องจริงที่จะบอกว่าเส้นทางสายไหมไม่เคยตายจากไปในฉวนโจว และสินค้าประเภทเดียวกันที่เคยส่งออกในเส้นทางเดินทะเลโบราณในช่วงเวลาเหล่านั้นก็ยังคงได้รับการส่งออกไปทั่วโลกในทุกวันนี้

หนึ่งในบรรดาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ส่งออกไปทั่วโลกคือ “ใบชา” ฉวนโจวถือเป็นบ้านของชาเถี่ยกวนอิน ชาชื่อดังและแพงที่สุดของจีน

อุตสาหกรรมอื่นที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคฉวนโจวคือเครื่องลายครามเต๋อฮว่า มีการแลกเปลี่ยนนอกพื้นที่มานานหลายศตวรรษ และได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยเฉพาะในฝรั่งเศส

เมืองฉวนโจวเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่อง และตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2492 อุตสาหกรรมใหม่จำนวนมากได้เติบโตขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ แม้ว่าจะไม่มีการค้าขายผ้าไหมอย่างมากในปัจจุบัน แต่อุตสาหกรรมรองเท้าและเสื้อผ้าก็กำลังรุ่งเรือง

เห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเมืองฉวนโจวนับแต่อดีตได้ช่วยให้พื้นที่แห่งนี้เจริญรุ่งเรือง ด้วยชายฝั่งทะเลที่สวยงามและวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันอย่างมีเอกลักษณ์ เมืองฉวนโจวเป็นสถานที่ที่น่ามาเยี่ยมเยือน ไม่ว่าคุณจะทำการค้าหรือไม่ก็ตาม