มองอย่างเป็นกลาง: ปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจจีน
ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่มีอยู่ในเศรษฐกิจจีนปัจจุบัน ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในจีน แต่มักพบในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง เช่น ปัญหาประชากรซึ่งปัจจุบันกลายเป็นปัญหาระดับโลกไปแล้ว
การจัดการกับปัญหาความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่เศรษฐกิจจีนเผชิญอยู่นี้ รัฐบาลจีนกำลังดำเนินการวิจัยเชิงลึก โดยเริ่มจากการมองสภาพความเป็นจริงของประเทศจีนเป็นหลัก และซึมซับประสบการณ์และบทเรียนของประเทศพัฒนา ช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 จีนมีการเสนอนโยบาย “คู่สามีภรรยาสามารถมีลูกได้ 2 คน” และในเดือนพฤษภาคม 2564 ดำเนิน “นโยบายคู่สามีภรรยาสามารถมีลูกได้ 3 คน” และออกมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ที่จำเป็น
ในส่วนของปัญหาหนี้ ในปี 2560 จีนได้เน้นย้ำถึงการแก้ไขความเสี่ยงด้านหนี้ของทางการท้องถิ่นอย่างแน่วแน่
เกี่ยวกับปัญหาความเสี่ยงด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ประชุมเศรษฐกิจกลางของจีนในปี 2559 เสนอว่า ต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างอสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจที่แท้จริง และที่ประชุมเศรษฐกิจกลางของจีนในปี 2565 เน้นย้ำว่า ต้องส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงอย่างราบรื่นของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์สู่การพัฒนารูปแบบใหม่ และรับประกันการพัฒนาตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
มองอีกด้าน เมื่อเศรษฐกิจของประเทศจีนเปลี่ยนจากช่วงที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วไปสู่ช่วงการพัฒนาคุณภาพสูง ปัญหาเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะปรากฏให้เห็น ในทางกลับกัน กระบวนการจัดการกับปัญหาเชิงโครงสร้างในขณะที่จีนกำลังเผชิญกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะความท้าทายจากสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่ย่ำแย่ลง เพิ่มความยากลำบากในการแก้ปัญหาอย่างมาก
ในที่ประชุมเศรษฐกิจกลางของจีนเมื่อปี 2566 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชี้ให้เห็นอย่างละเอียดว่า การพัฒนาของเศรษฐกิจจีน นอกจากต้องเผชิญกับปัจจัยที่ไม่แน่นอนซึ่งเกิดจากสถานการณ์ภายนอกที่รุนแรงและซับซ้อนแล้ว ยังต้องเผชิญกับความยากลำบากและความท้าทายบางประการในการพัฒนาตนเองด้วย โดยมีสาเหตุหลักมาจากอุปสงค์ที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ และในบางอุตสาหกรรมมีกำลังการผลิตส่วนเกิน เป็นต้น ขอให้เชื่อมั่นว่า ตราบใดที่เราใช้มาตรการเชิงรุกและมีประสิทธิภาพ ก็สามารถส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศเราได้