ยล “เครื่องลงยาจิ่งไท่หลาน” ที่โรงงานเครื่องเคลือบในปักกิ่ง

(People's Daily Online)วันจันทร์ 27 พฤษภาคม 2024
ยล “เครื่องลงยาจิ่งไท่หลาน” ที่โรงงานเครื่องเคลือบในปักกิ่ง
จง เหลียนเซิงและช่างฝีมือกำลังวาดลวดลายบนงานเครื่องลงยาจิ่งไท่หลานในโรงงานเครื่องเคลือบปักกิ่ง ณ กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 (ซินหัว)

“จิ่งไท่หลาน” คือเครื่องลงยาชนิตพิเศษของจีนที่ใช้ทองแดงและเครื่องเคลือบดินเผาเป็นโครงของชิ้นงานและลวดทองแดงประกอบเป็นลวดลาย พร้อมลงสีโดยใช้น้ำยาพิเศษเคลือบ โดยกลุ่มประเทศอาหรับนำเข้ามายังจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1271-1368) และกลายเป็นศิลปะหัตถกรรมที่ได้รับความนิยมในยุคของจักรพรรดิจิ่งไท่ในสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644)

ด้วยลวดลายที่สร้างด้วยลวดทองแดงและทาสีด้วยการเคลือบบนตัวทองแดง ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย เช่น การเผา การเจียร และการปิดทองมาทำเป็นชิ้นงานเครื่องลงยาจิ่งไท่หลาน งานหัตถกรรมดังกล่าวได้ผสานรวมเข้ากับศิลปะจีนโบราณนับเป็นเวลา 600 ปี

โรงงานเครื่องเคลือบปักกิ่งซึ่งก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2499 เป็นเจ้าเดียวที่ผลิตเครื่องลงยาจิ่งไท่หลานที่ได้รับการยกย่องมายาวนานในจีน ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นฐานการผลิตและศูนย์อนุรักษ์งานฝีมือด้วย

ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่ผ่านมา โรงงานแห่งนี้มีทีมงานที่ประกอบด้วยช่างฝีมือจิ่งไท่หลาน อีกทั้ง จง เหลียนเซิง ศิลปินมืออาชีพและผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและหัตถกรรมก็เป็นหนึ่งในผู้ที่มีฝีมือเก่งที่สุด

จง เหลียนเซิง ผู้จัดการทั่วไปของโรงงานเครื่องเคลือบปักกิ่ง เป็นผู้สืบทอดการทำเครื่องลงยาจิ่งไท่หลาน มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติของจีน

จงเริ่มต้นอาชีพของเขาในปี พ.ศ. 2521 เมื่อเขาเริ่มเรียนศิลปะในโรงเรียน และผลงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งที่เขาภูมิใจมากที่สุดคือนาฬิกาเคลือบที่คิดค้นโดยทีมของเขา ชิ้นงานซึ่งมีลวดลายอันวิจิตรงดงามเรียงรายไปด้วยเส้นลวดทองคำบริสุทธิ์หรือเงินเนื้อดีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.045 มิลลิเมตร เคลือบไว้บนหน้าปัด ซึ่งชิ้นงานสำเร็จได้ด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์ขนาดขยาย 40 เท่า

จงยืนยันว่า มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้สามารถส่งต่อไปยังรุ่นต่อรุ่นได้โดยการบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวันของผู้คนเท่านั้น ด้วยความพยายามของพวกเขา ศิลปะจิ่งไท่หลานจึงได้รับการยอมรับในชีวิตของคนทั่วไป และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ยังได้ประยุกต์ใช้ในแง่มุมที่กว้างขึ้น เช่น การตกแต่งสถาปัตยกรรมอีกด้วย

งานประจำวันของจงก่อนที่เขาจะเกษียณคืองานที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตจิ่งไท่หลาน และการสอนเด็กฝึกงาน ซึ่งบางคนได้รับเกียรติให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและงานฝีมือระดับเมืองเพื่อส่งต่อเทคนิคนี้

จง เหลียนเซิงกำลังวาดลวดลายบนงานหัตถกรรมจิ่งไท่หลานในเวิร์กชอปของโรงงานเคลือบแห่งปักกิ่ง ณ กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 (ซินหัว)
จง เหลียนเซิงกำลังตรวจสอบงานหัตถกรรมจิ่งไท่หลานที่โรงงานเคลือบแห่งปักกิ่ง ณ กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 (ซินหัว)
เวิร์กชอปของโรงงานเคลือบแห่งปักกิ่ง ณ กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 (ซินหัว)
ช่างฝีมือกำลังทำหัตถกรรมจิ่งไท่หลานที่โรงงานเคลือบแห่งปักกิ่ง ณ กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 (ซินหัว)