สถิติจีน: เศรษฐกิจดิจิทัลขยายตัวในวงกว้าง ชี้ให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของจีน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจดิจิทัลของจีนขยายตัวอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และมีส่วนช่วยการพัฒนาคุณภาพสูงของประเทศ ดูได้จากข้อเท็จจริงและตัวเลขที่เน้นความก้าวหน้าล่าสุดในสาขาดิจิทัลของจีน
รายงานล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนาดิจิทัลของจีนที่เผยแพร่โดยสำนักบริหารข้อมูลแห่งชาติเผยว่า ผลผลิตมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมหลักในเศรษฐกิจดิจิทัลอยู่ที่ร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทั้งหมดของจีนในปี 2566
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จีนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนอำนวยความสะดวกในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2564-2568) ก่อนกำหนด 2 ปี
แผนดังกล่าวที่แถลงโดยนายกรัฐมนตรีจีนในปี 2565 โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มสัดส่วนผลผลิตมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลหลักในจีดีพีป็นร้อยละ 10 ในปี 2568 เพิ่มขึ้นจากตัวเลขร้อยละ 7.8 ในปี 2563 ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศได้รับการปรับปรุงอย่างมาก โดยในปี 2566 มีขนาดพลังการประมวลผลสูงถึง 230 เอกซะฟล็อปส์ (EFLOPS) ซึ่งอยู่อันดับที่สองของโลก
ตามรายงานการสำรวจทรัพยากรข้อมูลแห่งชาติ ฉบับปี 2566 ระบุว่า ณ สิ้นปี 2566 ขนาดของพลังการประมวลผลในศูนย์คอมพิวเตอร์มากกว่า 2,200 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ความต้องการพลังการประมวลผลสำหรับการฝึกอบรมโมเดลขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น โดยมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภาควิทยาศาสตร์ ภาครัฐ การเงิน และอุตสาหกรรม
ในแง่ของการผลิตข้อมูล ในปี 2566 จีนสร้างข้อมูลได้ 32.85 เซตตะไบต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.44 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากประเทศประสบปัญหาการเติบโตอย่างรวดเร็วในการผลิตข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างในช่วงเวลาดังกล่าว
การพัฒนาอย่างรวดเร็วเของทคโนโลยี 5G และ AI ควบคู่ไปกับการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะอย่างแพร่หลาย มีส่วนสำคัญในการเพิ่มปริมาณข้อมูลทั้งหมดผ่านการสร้างเนื้อหา ตลอดจนสื่อภาพและเสียง
ในแง่ของการจัดเก็บข้อมูล ปริมาณการจัดเก็บข้อมูลสะสมของจีนในปี 2566 สูงถึง 1.73 เซตตะไบต์ ด้วยอัตราการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นร้อยละ 59
เทคโนโลยีดิจิทัลได้ถูกบูรณาการมากขึ้นในด้านต่าง ๆ ของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศจีน ซึ่งส่งเสริมการก่อตัวที่รวดเร็วของกำลังการผลิตที่มีคุณภาพใหม่
ขนาดของอุตสาหกรรมอุปกรณ์การผลิตอัจฉริยะของจีนมีมูลค่าเกิน 3.2 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 16 ล้านล้านบาท) โดยมีโรงงานสาธิตระดับชาติ 421 แห่ง กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศระบุว่า เทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์และแฝดดิจิทัลถูกนำมาใช้ในโรงงานสาธิตมากกว่าร้อยละ 90
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ชาวจีน 570 ล้านคนมีส่วนร่วมในการอ่านดิจิทัลในปี 2566 และ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 ผู้ใช้บัตรประกันสังคมอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด