เมล็ดพันธุ์จากอวกาศเข้ามาในชีวิตประจำวันของชาวจีน
เมล็ดพันธุ์ที่เพาะจากอวกาศได้เข้ามาในชีวิตประจำวันของชาวจีน ต้องขอบคุณความสำเร็จอันน่าทึ่งของจีนในการเพาะพันธุ์พืชในอวกาศ (space breeding)
หลังจากยานอวกาศเสินโจว-17 เดินทางกลับเมื่อวันที่ 30 เมษายน ตัวอย่างการทดลองทางวิทยาศาสตร์ชุดใหม่จากสถานีอวกาศของจีนก็มาถึงโลก ซึ่งรวมถึงเมล็ดพันธุ์สำหรับการทดลองปรับปรุงพันธุ์พืชด้วย
จีนได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์พืชในอวกาศมากกว่า 3,000 ครั้ง และพัฒนาพันธุ์พืชหลักที่ได้รับการอนุมัติมากกว่า 240 สายพันธุ์ เช่น ผัก, ผลไม้, ต้นไม้, หญ้า และดอกไม้ใหม่ๆ กว่าร้อยสายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ในอวกาศทำให้การผลิตธัญพืชในประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่า 2,000 ล้านกิโลกรัมต่อปี และก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยตรงมากกว่า 100,000 ล้านหยวน (ราว 500,000 ล้านบาท)
นักท่องเที่ยวถ่ายภาพดอกโบตั๋นที่เพาะพันธุ์จากอวกาศ ในเมืองลั่วหยาง มณฑล
เหอหนานภาคกลางของจีน เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 (พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์)
เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืชแบบดั้งเดิม ข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของการปรับปรุงพันธุ์พืชในอวกาศก็คือ สามารถสร้างทรัพยากรพืชที่เชื้อพันธุกรรมมีประสิทธิภาพสูงกว่า เช่น ผลผลิตที่สูงขึ้น ระยะเวลาการเจริญเติบโตที่สั้นลง และมีความต้านทานต่อโรคดีขึ้นในระยะเวลาอันสั้น
ในปี พ.ศ. 2556 สถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งเมืองฟู่หยาง มณฑลอันฮุย ภาคตะวันออกของจีน ได้ส่งข้าวสาลีพันธุ์ที่พัฒนาเองจำนวน 100 กรัมขึ้นสู่อวกาศ หลังจากการคัดกรองภาคสนามหลายรอบ ในที่สุด สถาบันก็สามารถคัดสายพันธุ์ที่ดีเยี่ยมได้ในสามปีต่อมา และในปี พ.ศ. 2564 ทางมณฑลได้อนุมัติให้มีการปลูกในปริมาณมากได้
นายเฟิ้ง เจียชุน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวสาลีของสถาบันฯ กล่าวว่า ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2566 พื้นที่ปลูกข้าวสาลีพันธุ์ใหม่มีขนาด 400,000 โหม่ว (168,000 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่มณฑลอันฮุย เหอหนาน และเจียงซู
ในปี พ.ศ. 2530 ดาวเทียมดวงที่ 9 ของจีนที่สามารถกู้คืนได้ ได้ส่งเมล็ดพันธุ์พืชขึ้นสู่อวกาศ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางเพื่อขยายพันธุ์ในอวกาศ
ในปี พ.ศ. 2549 จีนเปิดตัวดาวเทียมสือเจี้ยน-8 (Shijian-8) ดาวเทียมเพาะพันธุ์พืชในอวกาศดวงแรกของโลก ได้บรรทุกเมล็ดพันธุ์พืช, ฝ้าย, พืชน้ำมัน, ผัก, ผลไม้, จุลินทรีย์และธัญพืชหยาบ กว่า 200 กิโลกรัมไปปรับปรุงพันธุ์บนอวกาศ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนมีความก้าวหน้าอย่างมากในการวิจัยเกี่ยวกับกลไกการกลายพันธุ์ในอวกาศ โดยได้เห็นความสำเร็จที่โดดเด่นในการพัฒนาแหล่งพันธุกรรมใหม่ จำนวนพันธุ์ใหม่ ๆ จากอวกาศ และพื้นที่เพาะปลูกพืชพันธุ์เหล่านี้