วัยรุ่นจีนกว่าร้อยละ 70 อยากกลับทำงานที่บ้านเกิด
การสำรวจล่าสุดจากประชาชนวัยรุ่นจีน 1,500 คน แสดงให้เห็นว่าร้อยละ 70.4 ของผู้อยู่อาศัยเห็นว่าบ้านเกิดของตนน่าดึงดูดมากขึ้นสำหรับการพัฒนาส่วนบุคคล
ตามการสํารวจโดยศูนย์สํารวจทางสังคมของหนังสือพิมพ์ China Youth Daily และเว็บไซต์แบบสอบถาม www.wenjuan.com เผยว่า ผู้ตอบแบบ สอบถามจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกของจีนชอบภูมิภาคบ้านเกิดของตนมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศเป็นหลัก เนื่องจากค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายของที่อยู่อาศัยและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ
หลังจากทํางานนอกบ้านเกิดเพื่อหาประสบการณ์ในการดําเนินธุรกิจ หลิว หยุนหยาง (นามแฝง) หญิงยุคหลัง 95 จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ได้กลับไปที่ต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเปิดร้านอาหารในเมืองในปีนี้ เธอมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับ ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองที่เธออาศัยอยู่เป็นเวลาหลายปี
เฟิง จิง (นามแฝง) นักศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่ง เจียวทง กล่าวว่า “หากที่นั่นมีโอกาสที่ดี ฉันก็อยากจะกลับไปทำงานที่บ้านเกิด”
เฟิง จิงมาจากเมืองหลานโจว มณฑลกานซู ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เธอชื่นชมเสน่ห์ของมหานครอย่างปักกิ่ง แต่ยังคงชอบบ้านเกิดของเธอ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่ผ่อนคลายกว่า ซึ่งเธอสามารถเพลิดเพลินกับ ชีวิตที่เครียดน้อยลง
เจียง เหยา บัณฑิตหลังยุค 2000 เรียนวิชาเอกภาษาเวียดนามที่มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซีในเมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน กล่าวว่า เธออาจจะประกอบอาชีพในเมืองฉงชิ่ง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
เธออธิบายเพิ่มว่า “อันดับแรก นั่นเป็นสถานที่ที่ครอบครัวฉันอยู่ และฉงชิ่งก็มีโครงสร้างสาธารณูปโภคและการขนส่งที่พัฒนาแล้วและสะดวกสบาย รวมถึงราคาเช่าบ้านก็เป็นที่พอรับได้ น่าสนใจมาก”
การสํารวจพบว่าภาคกลางของจีนกําลังดึงดูดผู้มีความสามารถรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากข้อได้เปรียบ เช่น การพัฒนาอย่างรวดเร็ว ของอุตสาหกรรมเกิดใหม่ทรัพยากรทางวิทยาศาสตร์และการศึกษาที่หลากหลาย ตลอดจนความสามารถที่แข็งแกร่งสําหรับการวิจัยและนวัตกรรม
เย่ เหยียนเล๋ย นักศึกษาผู้จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชิงหัวเมื่อปีที่แล้ว เลือกพัฒนาอาชีพของตนในเมืองตอนกลางของประเทศ เช่น เมืองอู๋หูในมณฑลอันฮุย
เย่ให้ข้อสังเกตว่า เมืองอู๋หูมีอุตสาหกรรมที่โดดเด่น ระบบอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างสมบูรณ์ รวมถึงองค์กรชั้นนําจํานวนมาก
จากบรรดาคนหนุ่มสาวที่เข้าร่วมการสํารวจแบ่งเป็นเพศชายร้อยละ 52.7 และเพศหญิงร้อยละ 47.3
ผู้ตอบแบบสอบถามรุ่นหลังยุค 2000, หลังยุค 95, หลังยุค 90 และหลังยุค 85 คิดเป็นร้อยละ 19.4, 32.5, 33.8 และ 14.3 ตามลําดับ
ในส่วนของพื้นที่บ้านเกิดของผู้เข้าร่วมการสํารวจพบว่า มาจากภาคตะวันออกร้อยละ 32.5, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 26.6, ภาคกลางร้อยละ 31.7 และภาคตะวันตกร้อยละ 9.2