หญิงสาวในกว่างซีฟื้นชีพงานถักสานไม้ไผ่ดั้งเดิมของท้องถิ่น
หลิว เซี่ยปิง หญิงสาวชาวกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีนได้ฟื้นชีพงานถักสานไม่ไผ่ดั้งเดิมในท้องถิ่น
ที่โรงงานจักสานไม้ไผ่ในตำบลผิงหนาน เมืองชินโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน หลิว เซี่ยปิงกำลังจักสานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่โดยการสอนของคุณพ่อ ผู้มีประสบการณ์สานไผ่มาเป็นเวลา 48 ปี เธอหลงใหลในการถักสานไผ่มาตั้งแต่เด็ก
30 ปีที่ผ่านมา ผู้คนหลายพันในตำบลผิงหนานยังชีพด้วยผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบันมีเพียงผู้ร่วมสานไผ่ 30 คนเท่านั้นที่ยังคงอยู่ในเมือง คุณพ่อของหลิวกำลังจะวางทิ้งงานสานไม้ไผ่ ด้วยคิดว่าอุตสาหกรรมสานไผ่น่าจะหมดอนาคต
หลังจากที่หลิวรู้แผนของคุณพ่อ เธอกำลังทำงานอยู่นอกหมู่บ้าน และได้เดินทางกลับบ้านเกิดในปีนั้น ด้วยความเชื่อมั่นว่างานหัตถกรรมถักสานจากไม้ไผ่ดั้งเดิมนี้ควรจะได้รับการสืบทอดต่อไป
แม้ว่าครอบครัวของเธอจะสงสัยในตอนแรก แต่เธอก็มุ่งหน้าเข้าสู่ธุรกิจนี้โดยเปิดร้านค้าออนไลน์ที่ได้รับคำสั่งซื้อจากในประเทศจีน คุณพ่อของเธอกล่าวว่า “ลูกสาวผมเปิดทัศนคติที่กว้างขึ้นให้ผม” แม้ว่าเขาอดไม่ได้ที่จะคิดว่ามันจะล้าหลังไปตามกาลเวลาไหม
หลิวได้ให้ความมั่นใจกับเขาว่า แม้ว่าเรื่องการทำการตลาดจะสำคัญแต่คุณภาพของผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ก็เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จด้วย และเขาก็เป็นเพียงผู้เดียวทีจะรับรองคุณภาพ
ในปี 2562 พ่อของเธอได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแทนของผู้สืบทอดงานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่หลิงซาน ซึ่งได้รับการบรรจุอยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของกว่างซี
หลิวโพสต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียว่า “แรงบันดาลใจดั้งเดิมของฉันในการกลับบ้านเกิดคือการส่งต่องานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่”
จากนั้นเธอก็เริ่มถ่ายทอดสด และแม้ว่าความพยายามครั้งแรกในการขายตะกร้าผลไม้สานไผ่จะล้มเหลว แต่ข้อเสนอแนะของผู้ชมในการทำเตียงแมวก็ทำให้สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไป เตียงแมวไม้ไผ่ของหลิวประสบความสำเร็จในทันที มีคำสั่งซื้อ 200 รายการภายในสองชั่วโมงหลังจากเปิดตัว จากความสำเร็จดังกล่าว เธอเริ่มขายผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ที่สานจากไม้ไผ่
โรงงานของครอบครัวแห่งนี้ได้สร้างงานให้กับชาวบ้านในตำบล เหลียง ไห่เฟิน พนักงานวัย 54 ปีในโรงงานกล่าวว่า “เงินเดือนของฉันอยู่ระหว่าง 2,000 หยวน ถึง 3,000 หยวน ในช่วงฤดูการขายสูงสุด ฉันจะได้รายได้มากขึ้น”
หลิวกล่าวว่า “งานฝีมือแบบดั้งเดิมต้องตามทันยุคสมัย เราไม่ควรสร้างสิ่งที่เรารู้วิธีทำเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจริง ๆ”