สถาบันตุนหวงครบรอบ 80 ปี เผยผลลัพธ์อันโดดเด่นจากการฟื้นฟูและปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมด้วยเทคโนโลยี
ในศตวรรษที่ 4 ถ้ำหินแกะสลักโม่เกา หนึ่งในมรดกโลกของยูเนสโกในตุนหวง มณฑลกานซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งมีถ้ำที่แกะสลักบนหน้าผา 735 แห่ง ถ้ำแกะสลักดังกล่าวครอบคลุมจิตรกรรมฝาผนังขนาด 45,000 ตารางเมตรและประติมากรรมสีสันสนใสกว่า 2,400 ชิ้น
ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 80 ปีของสถาบันตุนหวง ซึ่งบริหารถ้ำโม่เกาและถ้ำอีก 5 แห่งในมณฑลกานซู่ ตลอด 80 ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่มรดกทางวัฒนธรรมรุ่นต่อรุ่นของสถาบันได้อุทิศให้กับการปกป้องและฟื้นฟูถ้ำในตุนหวง ตุนหวงศึกษา และเผยแพร่วัฒนธรรมตุนหวงอันงดงาม
สถาบันการศึกษาแห่งนี้ได้กลายเป็นสถาบันที่จัดการแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมจำนวนมากที่สุดในประเทศจีน นอกจากนี้ ยังเป็นสถาบันศึกษาสหวิทยาการตุนหวงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ฝู โหย่วสวี นักจิตรกรรมฝาผนังที่สถาบันตุนหวง ทำงานมาเป็นเวลา 37 ปี และได้บูรณะจิตรกรรมฝาผนังโบราณในพื้นที่กว่า 2,000 ตารางเมตร
งานของเขาต้องใช้ความอดทนและความแม่นยำสูงยิ่ง ภาพฝาผนังที่มีคุณค่าและเปราะบางขนาด 1 ตารางเมตร มักจะใช้เวลามากกว่า 10 วันในการฟื้นฟู ฝูอธิบายว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่เหล่านี้บอบบางอย่างมากและนับตั้งแต่เสียหายก็ไม่เคยได้รับการบูรณะ
การตกผลึกของเกลือก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อจิตรกรรมฝาผนังของถ้ำโม่เกา ซึ่งเป็นสาเหตุที่มักเรียกกันว่า “มะเร็ง” ต่อจิตรกรรมฝาผนัง
ด้วยความพยายามตลอด 7 ปี ทีมอนุรักษ์โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของสถาบันตุนหวงได้พัฒนาเทคนิคที่เป็นนวัตกรรมเพื่อควบคุมการตกผลึกของเกลือ และประยุกต์เทคนิคในการฟื้นฟูถ้ำหมายเลข 85 ภายในบริเวณถ้ำโม่เกา นอกจากนี้ สถาบันยังได้พัฒนาเทคนิคการฟื้นฟูจิตรกรรมฝาผนัง และกำหนดขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์สำหรับการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการออกหลักการเพื่อการอนุรักษ์แหล่งมรดกในประเทศจีน
ในศูนย์ตรวจสอบถ้ำของสถาบันตุนหวง หน้าจอขนาดใหญ่จะแสดงข้อมูลการติดตามถ้ำและสภาพแวดล้อมจุลภาคแบบเรียลไทม์ของถ้ำโม่เกา รวมถึงอุณหภูมิ ความชื้น และระดับคาร์บอนไดออกไซด์
“ผู้มาเยี่ยมชมถ้ำส่งผลต่ออุณหภูมิ ความชื้น และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ภายในถ้ำ หน้าที่ของเราคือรักษาตัวแปรเหล่านี้ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม หากข้อมูลจากถ้ำบางแห่งเกินขีดจำกัด เราจะปิดถ้ำชั่วคราว” จาง เจิ้งโหมว รองหัวหน้าศูนย์เฝ้าติดตามถ้ำกล่าวและเสริมว่า แต่ละถ้ำที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ติดตั้งอุปกรณ์เฝ้าติดตาม
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี รวมถึงอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) และเซ็นเซอร์ไร้สายสามารถแจ้งเตือนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และให้การสนับสนุนข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับการป้องกันเชิงรุก จางกล่าวพร้อมเสริมว่า สถาบันแห่งนี้ได้จัดตั้งแพลตฟอร์มการติดตามและเตือนภัยล่วงหน้าระดับมณฑลแห่งแรกสำหรับวัดถ้ำในประเทศจีน
ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา สถาบันได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ มากกว่า 130 โครงการ รวมถึงการอนุรักษ์ถ้ำ การเสริมความมั่งคงของหน้าผา และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงสถานะการอนุรักษ์โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมในถ้ำทั้ง 6 แห่งภายใต้เขตการดูแลของสถาบัน
สถาบันแห่งนี้ได้จัดตั้งระบบการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนโครงการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมระดับชาติที่สำคัญกว่า 300 โครงการในประเทศจีน และให้การสนับสนุนทางเทคนิคและโซลูชั่นสำหรับการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศที่เข้าร่วมในข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งรวมถึงที่อยู่ในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายซู โบ๋หมิน ประธานสถาบันตุนหวงกล่าวว่า นอกจากนี้ สถาบันได้สร้างฐานที่อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางวัฒนธรรมโดยการพัฒนาระบบที่สมบูรณ์ซึ่งรวมเอาเทคโนโลยีการรวบรวม การประมวลผล การจัดเก็บ และการจัดแสดงมรดกทางวัฒนธรรมดิจิทัล สิ่งนี้ได้ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในเชิงนวัตกรรมและการพัฒนาวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมอันวิจิตร
ตัวอย่างเช่น การนำเสนอทัวร์พาโนรามาความละเอียดสูงของถ้ำ 30 แห่ง อนึ่ง บนแพลตฟอร์มดิจิทัล มินิโปรแกรมบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียวีแชทมีผู้เห็นและมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์มากกว่า 200 ล้านครั้ง
ทางสถาบันได้ผลิตภาพยนตร์ดิจิทัลสองเรื่อง ได้แก่ “โม่เกา พันปี”และ “ถ้ำพุทธอันเหลือเชื่อ” ตามลำดับ ซึ่งดึงดูดผู้ชมได้มากกว่า 14 ล้านคนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
คอลเลกชันดิจิทัลต้องใช้ความอดทนอย่างมากเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อจิตรกรรมฝาผนัง ในท้ายที่สุด สมาชิกในทีมของสถาบันจะต้องรวบรวมภาพจิตรกรรมฝาผนังในถ้ำให้เป็นชิ้นสมบูรณ์
จนถึงขณะนี้ ทางสถาบันได้รวบรวมคอลเลกชั่นจิตรกรรมฝาผนังแบบดิจิทัลในถ้ำ 295 แห่ง และการประมวลผลภาพของถ้ำ 186 แห่ง และแปลงฟิล์มภาพถ่ายให้เป็นดิจิทัลแล้วกว่า 50,000 ชิ้น ซู ปัวมินกล่าวพร้อมเสริมว่า ข้อมูลทั้งหมดได้รับการรวบรวมให้อยู่ในไฟล์ดิจิทัลตามข้อกำหนดของสถาบัน
นอกจากนี้ ยังได้สร้างโบราณสถาน 7 แห่งและประติมากรรมทาสี 45 ชิ้นในโลกดิจิทัล และทำการสแกนเลเซอร์ 3 มิติของโครงสร้างถ้ำ 212 แห่ง
ปัจจุบัน ผู้คนมากกว่า 20 ล้านคนได้ชมภาพความละเอียดสูงพิเศษของแหล่งมรดกโลกทางออนไลน์ และเพลิดเพลินกับการทัวร์ชมถ้ำ 30 แห่งที่ถ้ำโม่เกาแบบพาโนรามา 720 องศาบนแพลตฟอร์มดิจิทัล
นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมถ้ำโม่เกาในตุนหวง มณฑลกานซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน (พีเพิลส์ เดลี่)
นายซู โบ๋หมินกล่าวว่า สถาบันจะยังคงเสริมสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีต่อไป และจัดทำบันทึกดิจิทัลสำหรับถ้ำ จิตรกรรมฝาผนัง และประติมากรรมทาสีทุกแห่ง เพื่อรักษาข้อมูลของจิตรกรรมฝาผนังและประติมากรรมทาสีที่ถ้ำโม่เกาอย่างถาวร
ในปี พ.ศ. 2443 มีการค้นพบครั้งใหญ่ที่ถ้ำโมเกา ที่ห้องถ้ำเล็ก ๆ ขนาดไม่ถึง 8 ตารางเมตรและต่อมาได้รับการขนานนามว่าถ้ำห้องสมุด ซึ่งเผยให้เห็นต้นฉบับและงานศิลปะโบราณมากกว่า 70,000 ชิ้น การค้นพบนี้นำไปสู่การเกิดขึ้นของตุนหวงวิทยาในโลก น่าเสียดายที่ต้นฉบับตุนหวงจำนวนมากกระจัดกระจายไปต่างประเทศเนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์
จ้าว เสี่ยวซิง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้อความตุนหวงภายใต้สถาบันกล่าวว่า สถาบันตุนหวงเป็นผู้นำในความพยายามที่จะกำหนดแผนเพื่อแปลงโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของตุนหวงที่สูญหายไปในต่างประเทศให้เป็นดิจิทัล สถาบันได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันต่าง ๆ ใน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ฮังการี และประเทศอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการแปลงทรัพยากรทางวัฒนธรรมและศิลปะของตุนหวงสู่ดิจิทัล
นายซู โบ๋หมินกล่าวเพิ่มว่า ฐานข้อมูลเอกสารตุนหวงเปิดตัวในปี 2565 โดยมอบทรัพยากรทางวิชาการคุณภาพสูงแก่นักวิชาการระดับโลกในตุนหวงวิทยา สถาบันจะทำงานร่วมกับนักวิชาการทั่วโลกเพื่อเล่าเรื่องราวของตุนหวงและจีนอย่างดี