ทำไมท่าเรือชานเคย์จึงได้ชื่อว่า “เส้นทางสายใหม่ระหว่างจีนและลาตินอเมริกาแห่งยุคใหม่”
ภาพจากซินหัว
ในตอนเย็นของวันที่ 14 พฤศจิกายน ตามเวลาท้องถิ่น สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน และดินา โบลัวร์เต ประธานาธิบดีเปรู ร่วมกันเข้าร่วมพิธีเปิดท่าเรือชานเคย์ (Chancay) ผ่านการประชุมทางวิดีโอ
ประธานาธิบดีจีนกล่าวว่า “จากชานเคย์ถึงเซี่ยงไฮ้ สิ่งที่พวกเรากำลังเห็นไม่เพียงเป็นการก่อสร้างร่วมกันของข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเท่านั้นที่หยั่งรากและเบ่งบานในเปรู แต่ยังเป็นการกำเนิดของเส้นทางสายใหม่ทางบกและทะเลแห่งยุคใหม่อีกด้วย”
ก่อนหน้านี้ เปรูไม่มีท่าเรือที่สามารถรองรับเรือคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ได้ เรือเหล่านี้จำเป็นต้องจอดในเม็กซิโก ปานามา และสถานที่อื่น ๆ เพื่อถ่ายโอนสินค้าลงเรือขนาดเล็กที่สามารถส่งไปยังปลายทาง ณ เปรูได้ หลังจากท่าเรือชานเคย์สร้างเสร็จ ระยะเวลาในการขนส่งโดยตรงจากกรุงลิมา ประเทศเปรูไปยังเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนจะลดลงเหลือประมาณ 10 วัน
เมืองท่าชานเคย์ในเปรูมีประชากรอาศัยถาวรหลายหมื่นคน เมื่อพูดถึงประเทศจีนและท่าเรือชานเคย์ ทุกคนคงคุ้นเคยกับเมืองนี้ คนในพื้นที่กล่าวว่า การก่อสร้างและการดำเนินงานท่าเรือชานเคย์ช่วยให้พวกเขาทำธุรกิจและมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น นักวิชาการชาวเปรูบางคนกล่าวว่า ท่าเรือชานเคย์คาดว่าจะนำการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศชุดใหม่ และกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค
เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ท่าเรืออัจฉริยะและท่าเรือสีเขียวแห่งแรกในอเมริกาใต้นี้ “จะนำผลประโยชน์มหาศาลมาสู่เปรู และสร้างโอกาสในการจ้างงานจำนวนมาก”
ท่าเรือเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์กลางของเส้นทางสายไหมทางทะเล ปัจจุบัน ท่าเรือชานเคย์ กลายเป็นจุดเริ่มต้นใหม่สำหรับ “เส้นทางอินคาแห่งยุคใหม่”
“ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน แต่ทว่าผลลัพธ์และโอกาสเป็นของโลก
ท่าเรือพิเรอุสในกรีซแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ที่ริเริ่มโดยจีนไม่ใช่สโลแกนหรือเรื่องเล่าขาน แต่เป็นการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จและความเป็นจริงที่ยอดเยี่ยม ท่าเรือกวาดาร์ในปากีสถานก็กำลังกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งระดับภูมิภาค
ท่าเรือแต่ละแห่งเชื่อมโยงโอกาสของจีนและเป็นประโยชน์ต่อผู้คนทุกประเทศ