นักข่าวชาวจีนและต่างประเทศสัมผัสเซินเจิ้น: มรดกทางอุตสาหกรรมของเซินเจิ้นและความคิดสร้างสรรค์ของเมือง

(People's Daily Online)วันศุกร์ 29 พฤศจิกายน 2024

เซินเจิ้น เมืองที่มีชื่อเสียงด้านนวัตกรรม มีโบราณวัตถุทางอุตสาหกรรมมากมาย ปัจจุบัน พื้นที่อุตสาหกรรมเก่าบางแห่งกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมวิจัย “นักข่าวชาวจีนและต่างประเทศร่วมสัมผัสเซินเจิ้น” ของพีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์ได้เยี่ยมชมย่านศิลปะจินผีฝาง และสถานีรถไฟอุตสาหกรรมชิงสุ่ยเหอในเขตหลัวหู เพื่อทำความรู้จักเซินเจิ้นอย่างลงลึกและเรียนรู้นิยามใหม่ของโบราณวัตถุทางอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์ด้วยความคิดสร้างสรรค์

ย่านศิลปะจินผีฝาง

ย่านศิลปะจินผีฝางตั้งอยู่บนถนนตงชาง เขตหลัวหู อดีตเป็นที่ตั้งของโรงงานเบียร์จินเวย (Kingway) ซึ่งชาวเซินเจิ้นคุ้นเคยกันดี

ในปี 2562 ทีมวิจัยการพัฒนาเมืองได้ทำการปรับปรุงพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าของโรงงานเบียร์จินเวย และในปี 2565 ได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมในชื่อใหม่ว่า “ย่านศิลปะจินผีฝาง” ย่านนี้ใช้วัฒนธรรมเบียร์เป็นธีมหลัก โดยยังคงอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเด่นของโรงงานเบียร์เดิมไว้ พร้อมทั้งเต็มไปด้วยองค์ประกอบของวัฒนธรรม ศิลปะ และไลฟ์สไตล์เฉพาะตัว


ร้านเหล้าที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าของโรงงานเบียร์จินเวย (พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์/ซุน ซูหยี่ว์)

สถานีรถไฟอุตสาหกรรมชิงสุ่ยเหอในเขตหลัวหู

ในช่วงทศวรรษที่ 1960 รถไฟขนส่งสินค้า “สามขบวนด่วนสำหรับส่งสินค้าสดจากเขตหลัวหูไปยังฮ่องกงและมาเก๊า” (ขบวนที่ 751, 753 และ 755) ได้เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2505 เพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ของชาวฮ่องกง

สถานีรถไฟอุตสาหกรรมเซินเจิ้นเป็นสถานีสุดท้ายก่อนที่สินค้าสดจะเข้าสู่ฮ่องกง ต่อมา ในวันที่ 16 มิถุนายน 2553 หลังจากขบวนรถไฟหมายเลข 755 ปฏิบัติภารกิจส่งสินค้าไปฮ่องกงเป็นครั้งสุดท้ายที่สถานีเจิ้งโจวเป่ย รถไฟสามขบวนด่วนก็ปิดฉากภารกิจอันยาวนานถึง 48 ปี

แม้ว่ารถไฟสามขบวนด่วนจะสิ้นสุดบทบาททางประวัติศาสตร์ แต่คุณค่าของสถานีรถไฟอุตสาหกรรมเซินเจิ้นยังคงอยู่ ปัจจุบัน พื้นที่นี้ได้รับการพัฒนาเป็น “สถานีรถไฟอุตสาหกรรมเซินเจิ้น:ย่านศิลปะและวัฒนธรรมเซินเจิ้น-ฮ่องกง” โดยมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์รถไฟขบวนด่วนสามขบวน โรงภาพยนตร์ธีมรถไฟแบบอินเทอร์แอคทีฟ และกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้ผู้มาเยือนย้อนรำลึกถึงความทรงจำแห่งยุคที่เชื่อมโยงเซินเจิ้นและฮ่องกง


โครงสร้างที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ยังคงถ่ายทอดภาพความคึกคักในอดีตได้อย่างชัดเจน (พีเพิลส์ เดลี่ ออนไลน์/ซุน ซูหยี่ว์)

ในโรงภาพยนตร์แบบอินเทอร์แอคทีฟ ผู้ชมได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์ที่รถไฟทั้งสามขบวนเคยเดินทาง (พีเพิลส์ เดลี่
ออนไลน์/หวัง ซิง)

ในเซินเจิ้น การปรับปรุงพื้นที่ประวัติศาสตร์ให้เกิดนวัตกรรมไม่เพียงเป็นการแสดงความเคารพต่ออดีต แต่ยังสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ต่ออนาคตอีกด้วย