จีนเพิ่มประสิทธิภาพด้านลอจิสติกส์เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
สำนักสารนิเทศแห่งคณะรัฐมนตรีจีนในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีนจัดงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 (ซินหัว)
ประเทศจีนยังมีช่องว่างอีกมากในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านลอจิสติกส์ และจีนได้วางแผนลดอัตราส่วนต้นทุนด้านลอจิสติกส์ทางสังคมต่อ GDP ลงเหลือประมาณ 13.5 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2570 ซึ่งลดลงจาก 14.4 เปอร์เซ็นต์ในปี 2566 และ 18 เปอร์เซ็นต์ในปี 2555
นั่นจะหมายถึง ต้นทุนด้านลอจิสติกส์ของจีนที่เกิดขึ้นต่อจีดีพีทุก ๆ 100 หยวน (ราว 480 บาท) จะลดลงจาก 14.4 หยวนในปี 2566 และ 18 หยวนในปี 2555 เหลือเพียง 13.5 หยวน (ราว 64 บาท) ในปี 2570
ตามแผนของสำนักงานทั่วไปของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและคณะรัฐมนตรีจีนจีนจะปรับปรุงโครงสร้างการขนส่งสินค้าให้เหมาะสมยิ่งขึ้นภายในปี 2570 และเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบศูนย์กลางลอจิสติกส์แห่งชาติและเครือข่ายบริการลอจิสติกส์ที่ทันสมัย
จาง ซื่อซิน รองเลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูปและการพัฒนาแห่งชาติจีน กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า นี่ไม่ใช่เรื่องของการบีบอัดกำไรที่สมเหตุสมผลของบริษัทลอจิสติกส์ หรือเป็นการทำร้ายรายได้ของผู้ประกอบวิชาชีพลอจิสติกส์
จางกล่าวว่า แผนดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การประสานการลดต้นทุนด้านลอจิสติกส์กับการพัฒนาลอจิสติกส์สมัยใหม่ที่มีคุณภาพสูงด้วยการปรับโครงสร้าง การปฏิรูปที่เจาะลึกยิ่งขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรด้านลอจิสติกส์โดยเน้นย้ำถึงการปฏิรูปและนวัตกรรม เนื่องจากการปฏิรูปสถาบันและกลไกมีความสำคัญต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านลอจิสติกส์ และมุ่งเน้นไปที่ด้านสำคัญๆ เช่น การขนส่งทางราง การขนส่งทางถนน และข้อมูลลอจิสติกส์
เป้าหมายหรือการลดหย่อน 0.9 เปอร์เซ็นต์จากปี 2566 ถึงปี 2570 ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างอุตสาหกรรมของจีนและการดำเนินงานของภาคลอจิสติกส์
จางกล่าวว่า แต่การลดลง 0.9 เปอร์เซ็นต์จะส่งผลอย่างไรต่อจีน นั่นหมายความว่าจีนจะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านลอจิสติกส์ทางสังคมได้มากกว่า 1 ล้านล้านหยวนเมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งถือเป็นผลดีต่อภาคเศรษฐกิจจริง
ในระดับอุตสาหกรรม หมายถึงความได้เปรียบทางการแข่งขันในภาคการผลิต เนื่องจากระบบลอจิสติกส์ของภาคส่วนนี้คิดเป็นเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของระบบลอจิสติกส์ทั้งหมดของประเทศ ประสิทธิภาพด้านลอจิสติกส์ที่ได้รับการปรับปรุงจะช่วยปรับกระบวนการที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงในภาคการผลิต
แผนดังกล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิรูปในพื้นที่ตลาดการขนส่งสินค้าทางรางและทางถนนที่สำคัญ ในเรื่องการเปิดกว้างและการเชื่อมโยงข้อมูลด้านลอจิสติกส์เพื่อสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานและระบบลอจิสติกส์เชิงพาณิชย์ที่ทันสมัย
รวมทั้งยังส่งเสริมโมเดลลอจิสติกส์ใหม่ๆ ที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์ม เศรษฐกิจการบินระดับต่ำ และการขับขี่อัตโนมัติ รวมถึงส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ยานยนต์ไร้คนขับ เรือ โดรน และคลังสินค้า
นอกจากนี้ ยังจะให้การสนับสนุนเพื่อให้ศูนย์กลางลอจิสติกส์ คลังสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามแผน โดยบรรจุภัณฑ์ด้านลอจิสติกส์จะมีปริมาณลดลงและสามารถรีไซเคิลได้มากขึ้น
ตามข้อมูลของสหพันธ์ลอจิสติกส์และการจัดซื้อแห่งจีน ต้นทุนด้านลอจิสติกส์ทางสังคมของจีนอยู่ที่ 13.4 ล้านล้านหยวนในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2567 และอัตราส่วนต้นทุนลอจิสติกส์ต่อจีดีพี อยู่ที่ 14.1 เปอร์เซ็นต์