ผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม วัยหลังยุค 2000 นำงานหัตถกรรมดั้งเดิมกลุ่มชาติพันธุ์อี๋ถ่ายทอดสู่เยาวชนและตลาดต่างชาติ

(People's Daily Online)วันศุกร์ 17 มกราคม 2025

ในเขตปกครองตนเองฉู่สงอี๋ มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีคำกล่าวที่ว่า “เด็กทุกคนในกลุ่มชาติพันธุ์อี๋ที่ถือตะเกียบได้ก็ปักผ้าได้” ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เฉิน ไห่เยี่ยน ผู้สืบทอดงานปักผ้าของอี๋ วัยหลังยุค 2000 ชอบดูคุณย่าและคุณแม่ปักผ้าตั้งแต่ยังเด็ก นิ้วที่คล่องแคล่วของทั้งคู่เต้นรำไปตามเข็มผ้า สร้างภาพทิวทัศน์ที่สดใส ตั้งแต่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดอกไม้ และสัตว์ต่าง ๆ

งานปักแบบดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์อี๋จากแคว้นปกครองตนเองฉู่สยง กลุ่มชาติพันธุ์อี๋กำลังครองใจผู้บริโภครุ่นเยาว์ และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในตลาดต่างประเทศ

ที่โรงงานปักท้องถิ่นที่มีชื่อว่า ชีไฉ่อี๋ (งานปักอี๋สีสันสดใส) ช่างฝีมือรุ่นเก่าจำนวนมากไม่เคยออกจากหุบเขายูนนานเลย แต่ผลงานของพวกเขาก็ได้เดินทางไกลและแพร่หลายไปสู่ตลาดทั่วโลก รวมถึงยังได้รับคำยกย่องอย่างสูง

ตามที่เฉิน ลูกสาวของติงกล่าว โรงงานซึ่งก่อตั้งโดย ติง หลานอิง ตัวแทนระดับมณฑลผู้สืบทอดงานปักผ้าอี๋ พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่น ได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศต่าง ๆ เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และเวียดนาม และเจ้าของร้านรายหนึ่งกล่าวชื่นชมผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่ามีดีไซน์และสีสันที่สะดุดตาและสดใส โดยกล่าวว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทำให้ร้านอาหารของเขาดูมีชีวิตชีวาและมีสีสันมากขึ้น

งานปักอี๋ เป็นงานหัตถกรรมดั้งเดิมที่ได้รับการยอมรับและรวมอยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติของจีนในปี 2557 โดยครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็นงานที่สี “ฉูดฉาด” และ “เชย” ในขณะที่ผลิตภัณฑ์งานปักอี๋ที่ผลิตด้วยเครื่องจักรก็ล้นตลาดด้วยราคาต่ำและมีดีไซน์ที่เป็นแบบเดียวกัน

เฉินกลายเป็นช่างปักผ้ารุ่นที่ 6 ของครอบครัวเมื่ออายุได้ 12 ปี

หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในปี 2565 เธอกลับมายังบ้านเกิดพร้อมกับความทะเยอทะยานที่จะปรับปรุงงานปักของอี๋ให้ทันสมัยและน่าดึงดูดใจสำหรับผู้ชมที่เป็นคนรุ่นใหม่และทั่วโลกมากขึ้น

เฉินกล่าวว่า “ฉันตั้งใจที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่หลากหลายและเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของการปักผ้าอี๋”

ด้วยความตั้งใจที่จะเปลี่ยนทัศนคติของคนหนุ่มสาวว่างานปักของอี๋นั้นสวยงามแต่มีสีสันและลวดลายที่โดดเด่นเกินกว่าที่จะสวมใส่ในชีวิตประจำวัน เฉินจึงเริ่มดัดแปลงงานหัตถกรรมให้เข้ากับรสนิยมของคนรุ่นใหม่โดยที่ยังคงรักษารากเหง้าทางวัฒนธรรมเอาไว้

ภายใต้การนำของเธอ ช่างฝีมือที่เวิร์กชอปงานปักชีไฉ่อี๋เริ่มทดลองใช้สีที่นุ่มนวลและละเอียดอ่อนมากขึ้น และแปลงโฉมการออกแบบที่สมจริงแบบดั้งเดิมให้กลายเป็นรูปแบบศิลปะที่นามธรรมมากขึ้น

การปรับเปลี่ยนเหล่านี้ทำให้ผลงานปักสามารถนำไปใช้สวมใส่ได้ง่ายขึ้นและง่ายต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ความพยายามของเฉินและทีมของเธอเริ่มเห็นผลในไม่ช้า

ในปี 2566 ผลงานปักของแบบอี๋ของเฉิน เช่น สมุดบันทึกปักลายและกระเป๋าสะพายข้างลายดอกไม้สามมิติ ได้รับการรวบรวมโดยมหาวิทยาลัยต้าหลี่ในเขตปกครองตนเองต้าหลี่ไป๋ มณฑลยูนนาน กระเป๋าผ้าที่มีลายปักแบบอี๋ของเฉิน ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของแพ็คเกจของขวัญเทศกาลตรุษจีนโดยสถานทูตจีนในอินโดนีเซีย

ในปีเดียวกันนั้น ด้วยความช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยเซาท์อีสต์ในเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน โรงงานปักผ้าชีไฉ่อี๋ได้เปิดตัวผลงานปักผ้าอี๋ชุดหนึ่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากถ้ำ โม่เกา แหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโก ที่มีชื่อเสียงในด้านคอลเลกชันผลงานศิลปะพุทธศาสนาอันมากมายในเมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

ผลงานปักอันสร้างสรรค์เหล่านี้ ผสมผสานการปักอี๋โบราณกับองค์ประกอบของศิลปะพุทธศาสนาของจีน ทำให้การปักอี๋มีความโดดเด่นและมีพลังมากขึ้น

ผลงานปักอันประณีตเหล่านี้จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะจินหลิงในเมืองหนานจิง และสร้างความทึ่งให้กับผู้เยี่ยมชมจากทั่วโลก

ด้วยความพยายามของเฉิน เวิร์กชอปแห่งนี้จึงได้ร่วมมือกับแบรนด์ดังระดับนานาชาติในการพัฒนาสินค้าแฟชั่นกว่า 200 ชิ้นที่ใช้การปักลายของอี๋ ซึ่งประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของการปักลายของอี๋ จากงานฝีมือที่ล้าสมัยให้กลายเป็นรูปแบบศิลปะระดับไฮเอนด์ที่ทันสมัย

ในปี 2567 รายได้จากการขายสินค้าจากความร่วมมือเหล่านี้ทะลุ 4 ล้านหยวน (ราว 550,000 ดอลลาร์สหรัฐ) โดย 10 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ

นอกจากนี้ เครื่องแต่งกายประจำกลุ่มชาติพันธุ์อี๋ ซึ่งออกแบบโดยเวิร์กชอปงานปักชีไฉอี๋ยังปรากฏบนเวทีแฟชั่นนานาชาติ รวมถึงในงานมิลานแฟชั่นวีค โดยดึงดูดความสนใจจากทั่วโลกให้มาสนใจวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์อี๋

เมื่องานปักผ้าอี๋ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ รายได้ของช่างฝีมือในโรงงานก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ช่างปักผ้าบางคนที่เคยว่างงานตอนนี้มีรายได้ถึง 4,000 หยวนต่อเดือน (ราว 18,800 บาท)

เฉินกล่าวว่า “ยิ่งวัฒนธรรมชาติพันธุ์ใดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากเท่าใด ก็ยิ่งน่าดึงดูดใจสำหรับโลกภายนอกมากขึ้นเท่านั้น”

ในฐานะที่เป็นตัวแทนระดับอำเภอที่อายุน้อยที่สุดในการสืบทอดเครื่องแต่งกายประจำกลุ่มชาติพันธุ์อี๋ในอำเภอหนานฮัว แคว้นปกครองตนเองฉู่สยง กลุ่มชาติพันธุ์อี๋ เฉินมั่นใจว่างานปักของอี๋จะยังคงเปล่งประกายอย่างเจิดจ้าบนเวทีนานาชาติต่อไป